ขั้นที่ 2 การใช้หมัด

ขั้นที่ 2 การใช้หมัด

Defending Punch

การใช้หมัด หรือ การต่อย ในมวยไทยมีหลายหลายรูปแบบ เช่น หมัดชกนำ หมัดชกตาม หมัดเหวี่ยงสั้น หมัดเหวี่ยงยาว หมัดเหวี่ยงกลับ หมัดเสย หมัดโขก เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดสามารถประยุกต์ใช้ตามแต่ละสถานการณ์ที่เผชิญขณะชกกับคู่ต่อสู้ศิลปะการใช้หมัด ภายในเล่มจะนำเสนอ การใช้หมัดของมวยไทยหลากหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละท่าหมัดล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยอันตราย ผู้ศึกษาจึงควรศึกษาการใช้หมัดในทางทฤษฎีให้เข้าใจก่อนนำไปฝึกซ้อมปฏิบัติ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บและอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นโดยแต่ละท่าหมัด จะบอกขั้นตอนของการออกหมัดโดยละเอียด พร้อมภาพประกอบ ตลอดจนเกร็ดคำแนะนำที่มีประโยชน์ เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจและเห็นภาพได้อย่างชัดเจน


1. หมัดตรงชกนำ

หมัดตรงชกนำหรือหมัดตรงหน้าใช้โจมตีเป้าหมายในระยะประชิด อาศัยการถ่ายน้ำหนักตัวจากเท้าหลังมายังเท้าหน้า ส่งแรงไปยังลำตัวถึงหัวไหล่ ไปยังหมัดหน้าเพื่อเพิ่มความรุนแรงของการปะทะ เมื่อชกไปแล้วน้ำหนักตัวของเราจะอยู่ที่เท้าหน้า


2. หมัดรงชกตาม

เป็นการชกหมัดที่อยู่ด้านหลังของเราตรงไปยังเป้าหมาย อาศัยแรงส่งจากเท้ามายังลำตัวจนถึงหัวไหล่ส่งตรงไปที่หมัดเพื่อปะทะเป้าหมาย เมื่อชกไปแล้วไหล่ ลำตัวและเอวจะบิดคว่ำลง

รวมไปถึงสะโพกน้ำหนักตัวจะอยู่ที่เท้าหน้าโดยส่วนใหญ่หมัดตรงชกตามจะมีความหนักหน่วงและรุนแรงสร้างความเสียหายให้กับคู่ต่อสู้มากกว่าหมัดตรงชกนำ

 


3. หมัดเหวี่ยง

หมัดเหวี่ยงสั้น
เราจะใช้หมัดนี้เมื่อคู่ต่อสู้ทำการปิดป้องหรือกำบังต่างๆ เช่นยกแขนปิดป้องใบหน้า เมื่อเราใช้หมัดเหวี่ยงสั้นชกหมัดโดยการงอและเกร็งข้อศอกไว้ให้หมัดออกเป็นวิถีโค้ง หมัดนี้จะเลยผ่านแขนคู่ต่อสู้เข้าสู่ใบหน้าหรือปลายคาง วิถีของหมัดอาจจะไม่ขนานพื้่น อาจเฉียงขึ้นหรือเฉียงลงบ้างตามแต่ความเหมาะสมใช้ในระยะประชิดเป้าหมายปลางคาง ใบหน้า ขากรรไกร
หมัดเหวี่ยงยาว
หมัดเหวี่ยงยาวหรือเรียกอีกอย่างว่าหมัดขว้างยาว คือการชกหมัดโดยเหยียดแขนยาวออกไป เกร็งแขนให้ตึง คว่ำมือพยายามให้สันหมัดถูกเป้าหมายโดยเหวี่ยงออกไปเป็นมุมกว้างใช้กับคู่ต่อสู้ที่อยู่ไกลออกไป ในระยะความยาวของแขนเรา เป้าหมายที่ชกคือปลายคาง ใบหน้า ท้ายทอย

หมัดเหวี่ยงกลับ
หรือหมัดตวัดกลับ ในบางครั้งที่เราใช้หมัดเหวี่ยวใส่เป้าหมายแต่คู่ต่อสู้หลบได้ เราจะใช้หมัดเหวี่ยงกลับนี้อีกครั้งเพื่อทำให้คู่ต่อสู้เสียเหลี่ยมหรือรูปมวยเพื่อชิงความได้เปรียบกลับมา หมัดเหวี่ยงกลับเป็นหมัดที่เหวี่ยงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง แล้วจึงหยุดแล้วเหวี่ยงกลับสู่ทิศทางเดิม มีทั้งเหวี่ยงกลับตัดสวนไปกับพื้นดิน เหวี่ยงเฉียงลง เฉียงขึ้นหรือเหวี่ยงกลับโขกลง


4. หมัดเหวี่ยงสั้น

เราจะใช้หมัดนี้เมื่อคู่ต่อสู้ทำการปิดป้องหรือกำบังต่างๆ เช่นยกแขนปิดป้องใบหน้า เมื่อเราใช้หมัดเหวี่ยงสั้นชกหมัดโดยการงอและเกร็งข้อศอกไว้ให้หมัดออกเป็นวิถีโค้ง หมัดนี้จะเลยผ่านแขนคู่ต่อสู้เข้าสู่ใบหน้าหรือปลายคาง

วิถีของหมัดอาจจะไม่ขนานพื้่น อาจเฉียงขึ้นหรือเฉียงลงบ้างตามแต่ความเหมาะสมใช้ในระยะประชิดเป้าหมายปลางคาง ใบหน้า ขากรรไกร


5. หมัดเหวี่ยงยาว

หมัดเหวี่ยงยาวหรือเรียกอีกอย่างว่าหมัดขว้างยาว คือการชกหมัดโดยเหยียดแขนยาวออกไป เกร็งแขนให้ตึง คว่ำมือพยายามให้สันหมัดถูกเป้าหมาย

โดยเหวี่ยงออกไปเป็นมุมกว้างใช้กับคู่ต่อสู้ที่อยู่ไกลออกไป ในระยะความยาวของแขนเรา เป้าหมายที่ชกคือปลายคาง ใบหน้า ท้ายทอย


6. หมัดเหวี่ยงกลับ

หรือหมัดตวัดกลับ ในบางครั้งที่เราใช้หมัดเหวี่ยวใส่เป้าหมายแต่คู่ต่อสู้หลบได้ เราจะใช้หมัดเหวี่ยงกลับนี้อีกครั้งเพื่อทำให้คู่ต่อสู้เสียเหลี่ยมหรือรูปมวยเพื่อชิงความได้เปรียบกลับมา

หมัดเหวี่ยงกลับเป็นหมัดที่เหวี่ยงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง แล้วจึงหยุดแล้วเหวี่ยงกลับสู่ทิศทางเดิม มีทั้งเหวี่ยงกลับตัดสวนไปกับพื้นดิน เหวี่ยงเฉียงลง เฉียงขึ้นหรือเหวี่ยงกลับโขกลง


7. หมัดเสย

หมัดเสยหรือหมัดสอยดาวคือหมัดที่ชกโดยข้อศอก เกร็งข้อศอกและหงายหมัดขึ้นวิถีของหมัดจะออกจากด้านล่างสู่ด้านบน
ทำมุมฉากกับพื้นใช้ได้ดีเมื่อเป้าหมายอยู่ใกล้ตัวเช่น การคลุกวงในแล้วคู่ต่อสู้ก้มต่ำ เป้าหมายคือคาง ลิ้นปี่ หน้าอก และใบหน้า

8. หมัดโขก

คือการเหวี่ยงหมัดหลังของเราขึ้นบนแล้วเหวี่ยงลงล่างอย่างแรงให้สันหมัดปะทะ ไปยังศีรษะ ท้ายทอย หลังใบหน้า ขมับ หรือปลายคางของคู่ชก ใช้ในจังหวะที่คู่ชกไม่ระวังตัว เสียเปรียบ หรือ ปิดป้องไม่รัดกุม การเหวี่ยงไหล่และแขน

บวกกับแรงดึงดูดของโลกในจังหวะที่สันหมัดคว่ำลงทำให้หมัดโขกมีแรงปะทะสูง และอันตรายมากหากปะทะกับเป้าหมายอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะบริเวณกะโหลกศีรษะเมื่อโดนกระแทกด้วยหมัดลักษณะนี้จะทำให้คู่ชกมึนงง หรือได้รับบาดเจ็บร้ายแรง


9. ถอยสุดระยะ

การถอยให้พ้นระยะ หมายถึงการถอยให้ห่างคู่ต่อสู้ อาจจะกระโดดเลื่อนเท้า ถอยหลัง หรือก้าวถอยหลัง แต่ต้องให้พ้นระยะไม้มวยของคู่ต่อสู้

ดังนั้นการถอยนี้จึงหมายถึงการเคลื่อนที่ออกห่างคู่ต่อสู้ในจังหวะที่คู่ต่อสู้ใช้ไม้มวยจู่โจมมา เมื่อถอยพ้นระยะแล้วจะต้องอยู่ในท่าที่พร้อมจะตอบโต้คู่ต่อสู้ได้ทันที


10. ผงะ

หมายถึงการเอนตัวออกให้พ้นระยะไม้มวยของคู่ต่อสู้ไม่ให้มาปะทะตัวเรา โดยไม่ต้องกระโดดถอยหลัง หรือฉากหลบ เช่น เมื่อคู่ต่อสู้เตะตัดบนเป้าหมายลำตัวของเรา

ให้รีบโก่งตัวไปทางด้านหลังให้เท้าคู่ต่อสู้ผ่านลำตัวไป การโยกตัวหรือเอนตัวลักษณะนี้ไม่นิยมออกห่างคู่ต่อสู้จนเกินไป เพราะถ้าอยู่ห่างไปจะทำให้ไม่สามารถตอบโต้คู่ต่อสู้ได้ทัน


11. ปะทะด้วยแขน

คือการใช้หมัดปิดป้องอวัยวะที่เป็นจุดอ่อนของร่างกายปะทะเข้ากับหมัดคู่ชก เมื่อปิดป้องแล้วจะต้องอยู่ในท่าที่สามารถตอบโต้คู่ต่อสู้ได้ทันที


12. ปัด

การปัดให้ไม้มวยของคู่ต่อสู้เบี่ยงเบนออกไป หมายถึงการใช้ข้อมือ หรือแขนปัดไม้มวยของคู่ต่อสู้ ให้เบี่ยงเบนไปยังเป้าหมายอื่น หรือทำให้คู่ต่อสู้เสียหลัก เสียการทรงตัวเป็นการเปิดโอกาศให้เราใช้ไม้มวยตอบโต้ได้

ไม่ว่าจะเป็นไม้หมัด ไม้เตะ ไม้ถีบ ไม้เข่า และไม้ศอก เราสามารถปัดให้เบี่ยงเบนและเสียหลักได้ทั้งนั้น แต่ถ้าให้ไม้รับนี้ได้ผลมักจะใช้กับไม้มวยที่พุ่งมาในทิศทางตรง เช่น หมัดตรง ถีบตรง เข่าตรง เป็นต้น


13. ฉากหลบ

ไม่ว่าจะเป็นไม้หมัด ไม้เตะ ไม้ถีบ ไม้เข่า และไม้ศอก เราสามารถปัดให้เบี่ยงเบนและเสียหลักได้ทั้งนั้น แต่ถ้าให้ไม้รับนี้ได้ผลมักจะใช้กับไม้มวยที่พุ่งมาในทิศทางตรง เช่น หมัดตรง ถีบตรง เข่าตรง เป็นต้น