ขั้นที่ 3 การใช้เท้า

ขั้นที่ 3 การใช้เท้า

การป้องกันเตะ

การใช้เท้า ในศิลปะมวยไทย แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ท่าเตะและท่าถีบ ซึ่งทั้งสองประเภทต่างเป็นอาวุธที่สำคัญที่สามารถใช้ได้ทั้งการโจมตีและการป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเป็นอาวุธช่วงยาวที่สามารถรุกหรือรับได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังใช้ในการหยั่งเชิงคู่ต่อสู้ได้อีกด้วยศิลปะการใช้เท้า ภายในเล่มจะนำเสนอ การใช้เท้าในการเตะและการถีบหลากหลายรูปแบบ ตามแต่สถานการณ์ที่ต้องเผชิญอันประกอบไปด้วย ถีบตรง ถีบเหน็บ ถีบเซาะ ถีบจิก ถีบทิ้ง ถีบข้าง ถีบตบ ถีบกลับหลัง กระโดดถีบ ในส่วนของของการเตะก็เช่น การเตะ กระโดดเตะ เตะครึ่งแข้งครึ่งเข่า เตะตวัด เตะตีลังกา เหยียบเตะโดยแต่ละท่าเตะและท่าถีบ จะบอกขั้นตอนการออกอาวุธอย่างละเอียด พร้อมภาพประกอบ อีกทั้งสอดแทรกเกร็ดคำแนะนำ ที่จะทำให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจและเห็นภาพ


1. ถีบตรง

ถีบตรงคือการใช้ปลายเท้า ฝ่าเท้า หรือส้นเท้าปะทะคู่ชก ขาที่ถีบออกไปจะทำมุมฉากกับขาที่รับน้ำหนักตัวไว้ เป้าหมายสูงกว่าระดับโคนขาของคู่ชก ได้แก่ ท้องน้อย หน้าท้อง รักแร้ ชายโครง หัวใจ ลิ้นปี่ หรือปลายคาง ทิศทางในการถีบมีอยู่สามทางได้แก่ ถีบตรง ถีบเฉียงขึ้น และ ถีบเฉียงลง การใช้อาวุธขาเราสามารถทำได้ทั้งสองจุดประสงค์

ทั้งการรุกและการรับทั้งนี้เพราะขาเป็นอวัยวะที่แข็งแรง มั่นคง และรุนแรงในการออกอาวุธหากใช้ในการรุกก็เพื่อประโยชน์ในการก่อกวนให้คู่ต่อสู้เปิดช่องว่างแล้วจึงโจมตี หากใช้ในการรับก็เพื่อการตอบโต้ให้คู่ชกไม่สามารถเข้าทำได้ถนัดอีกทั้งยังสร้างความเจ็บปวดให้คู่ชกได้เป็นอย่างดี


2. ถีบเหน็บ

คือการถีบโดยใช้ปลายเท้าปะทะคู่ชก ใช้เพื่อรบกวนการรุกของคู่ต่อสู้ เราจะงอเข่าแล้วเหยียดขาออกไปพร้อมงุ้มปลายเท้าลงให้เป็นเส้นเดียวกันกับขาที่ถีบออกไป เนื่องจากอาวุธขาสามารถยื่นยาวออกไปได้มาก ออกอาวุธได้รวดเร็ว รัดกุม หลักมั่นคง

เราจึงมักใช้การถีบเหน็บเป็นลูกถีบนำ ใช้เป็นไม้รุกได้ดีเพื่อให้คู่ต่อสู้เสียจังหวะแล้วจึงตามด้วยอาวุธอื่น หากคู่ชกปิดป้องรัดกุมเราจะใช้การถีบเหน็บรบกวนที่ท้องน้อย เพื่อให้คู่ชกลดมือปัดป้องเป็นการเปิดโอกาสให้เราโจมตีร่างกายช่วงบนได้


3. ถีบเซาะ

คือการถีบตรงโดยกระดกปลายเท้าขึ้นให้นิ้วเท้าเอนมาทางข้างหลังเมื่อปะทะเป้าหมายที่บริเวณท้องน้อย ท้อง หน้าอก คาง หรือ ใบหน้า เท้าของเราจะถอยเซาะขึ้นข้างบน
ใช้กับคู่ชกที่จดมวยไม่รัดกุม ถลำเข้ามาผิดจังหวะหรือเข้ามาเตะ หากคู่ชกลดมือลงมาเราสามารถถีบไปที่ใบหน้าปลายคาง หน้าอกและลิ้นปี่ก็ได้

4. ถีบจิก

เป็นการถีบไปยังเป้าหมายที่มีระดับต่ำกว่าโคนขา งอเข่าแล้วเหยียดออกอย่างรุนแรง ปลายเท้างุ้มลง จึงมักมีทิศทางดิ่งลงสู่พื้น เกร็งนิ้วเท้าเรียงชิดติดกันเข้าปะทะที่ท้องน้อย สะดือ หรือท้อง
ใช้แก้การเตะตัดล่างหรือเตะตัดกลาง สามารถใช้ได้ทั้งจังหวะรุก รับ หรือถอย ไม่นิยมถีบไปยังโคนขาเพราะอาจทำให้พลาดไปโดนหัวเข่าซึ่งเป็นอวัยวะที่แข็งกว่าได้

5. ถีบทิ้ง

หมายถึงการเหยียดขาตรงออกไป ไม่มีการงอเข่าให้ส้นเท้าปะทะเป้าหมายโดยการกระตุกปลายเท้าไปด้านหลัง ถ้าถีบด้วยเท้าหลังจะมีแรงปะทะสูง หากส้นเท้าโดนเป้าหมายที่ชายโครงอาจทำให้บาดเจ็บซี่โครงหัก หรือ หากโดนที่ช่องท้องก็จะสร้างความบอบช้ำให้อวัยวะถายในของคู่ชกได้มากใช้ในโอกาสสะกัดการบุกของคู่ชก เช่นคู่ชกบุกเข้ามาต่อย ฟันศอก หรือตีเข่า
ก็สามารถใช้ลูกถีบนี้ให้หยุดชะงักได้ ถ้าให้ได้ผลดีควรใช้ให้ถูกทางรุกของคู่ชก เช่น คู่ชก ออกอาวุธขวา ให้ถีบทิ้งด้วยเท้าขวา หาก ออกอาวุธซ้ายก็ให้ถีบด้วยเท้าซ้าย และชิงถีบก่อนที่คู่ชกจะเข้าถึงตัว ปิดป้องใบหน้าให้รัดกุม เก็บคางชิดลำตัว ศรีษะก้มเล็กน้อยเป้าหมายของการถีบมักจะอยู่ที่ช่วงต่ำกว่ากลางลำตัวลงไปจนถึงโคนขาจะได้ผลดี

6. ถีบข้าง

คือการถีบไปทางด้านข้างของลำตัวโดยฝ่าเท้าหรือส้นเท้าปะทะเป้าหมาย ศรีษะห่างออกจากปลายเท้ามาก เป้าหมายอาจจะอยู่สูงหรือต่ำกว่าโคนขาของเราก็ได้ ใช้เป็นไม้รุกเพื่อให้คู่ชกเสียจังหวะการทรงตัว โดยถีบขึ้นสูงถึงใบหน้า ปลายคาง หน้าอก ลิ้นปี่ คู่ชกจะโต้ตอบได้ยาก เพราะเราเอนตัวมาด้านหลังยากแก่การโต้กลับ หากใช้เป็นการตั้งรับก็สามารถทำได้โดยการเล็งเป้าหมายไปยังเข่า ต้นขา ท้องหรือลำตัว  นอกจากนี้ยังสามารถใช้แก้ทางมวยได้

 หลายอย่างอีกด้วย ทั้ง แก้หมัด แก้เท้า เข่า หรือศอกด้วยการถีบสะกัดการรุกเข้าทำของคู่ชก สามารถใช้ได้ทั้งเท้าหน้าและหลัง หากใช้เท้าหน้าถีบให้น้ำหนักมาที่เท้าหลัง ยกเท้าหน้าขึ้นบิดเท้า สะโพก ลำตัว และไหล่มาทางตรงข้ามกับเท้าที่ถีบ งอเข่าและเหยียดขาพุ่งมาข้างหน้าให้ส้นเท้าปะทะเป้าหมาย ถ้าจะถีบด้วยเท้าหลังให้ยกเท้าหลังงอบิดเท้า เข่า สะโพก ลำตัว และไหล่ไปยังทิศตรงข้ามกับเท้าที่ถีบแล้วเหยียดขาออกอย่างรวดเร็ว


7. ถีบตบ

คือการถีบออกไปทางด้านหน้า ยกเท้าเหยียดสูงแล้วใช้ฝ่าเท้าตบลงที่ใบหน้าคู่ชก อาจจะตบลงตรงหรือเฉียงไปทางซ้ายหรือขวาก็ได้ ใช้ในการสกัดการบุกของคู่ชกที่ถลำเข้ามาในระยะ หรือสามารถใช้สวนการรุกด้วยหมัดของคู่ชกก็ได้

ใช้เท้าหน้าในการออกอาวุธน้ำหนักอยู่ที่เท้าหลัง เก็บคอและยกแขนป้องกันให้รัดกุมระหว่างออกอาวุธ เมื่อถูกจังหวะจะทำให้คู่ชกเสียจังหวะไปชั่วขณะทำให้เราสามารถหาช่องว่างในการโจมตีได้ง่ายยิ่งขึ้น


8. ถีบกลับหลัง

คือการถีบตรงๆออกไปทางด้านหลัง หลังจากที่เราเตะเลยเป้าหมายไปแล้ว อาจจะหมุนตัวกลับแล้วถีบออกไปข้างหลัง ขาจะเหยียดตรงหรืองอขาก่อนแล้วจึงเหยียดถีบออกไปตรงๆ

บางครั้งเมื่อเตะไม่ถูกเป้าหมายก็ใช้เท้าที่เตะพลาดนั้นงอพับเข้าแล้วยันออกไป เพื่อสกัดกั้นการโต้กลับของคู่ชกหรือเพื่อโจมตีคู่ชกที่ยังไม่ทันระวังตัวหรือเผอเรอ


9. กระโดดถีบ

คือการกระโดดลอยตัวขึ้นพร้อมกับเหยียดเท้าแล้วถีบออกไปยังเป้าหมายอาจจะใช้ส้นเท้า ฝ่าเท้า ปลายนิ้วเข้าปะทะ

เป้าหมายที่ปลายคาง คอ หน้าอก ลิ้นปี่ หรือ ท้องแรงปะทะที่เกิดจากการกระโดดถีบจะมีความรุนแรงมากเพราะมีแรงโถมน้ำหนักจากการกระโดดรวมอยู่ด้วย


10. เตะตรง

คือการที่เข่าเคลื่อนที่จากจุดเริ่มไปกระทบเป้าหมายเป็นแนวหรือวิถีทางตรงดิ่งหรือตรงล้ำไปข้างหน้าสามารถใช้ทั้งเข่าหน้าและเข่าหลังในการโจมตีคู่ชก การตีเข่าจะใช้ได้ดีในระยะประชิดเช่นการคลุกวงใน กอดปล้ำตีเข่า โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ท้อง สะดือ ท้องน้อย หน้าอก ซี่โครง ต้นขา หรือในบางโอกาสก็สามารถตีเข่าไปยังปลายคาง ใบหน้า ได้เช่นกัน นอกจากนี้เนื่องจากเข่าเป็นอวัยวะที่

แข็งแกร่งทนทานจึงสามารถใช้ในการป้องกันการโจมตีด้วยเท้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย การตีเข่าหน้าเริ่มด้วยการถ่ายน้ำหนักจากเท้าหลังมาเท้าหน้าแล้วกระตุกเข่าตีขึ้นตรงๆ พร้อมถ่ายน้ำหนักตัวมาที่เท้าหลังจะทำให้น้ำหนักตัวส่วนมากมารวมที่ปลายเข่าที่ตีขึ้น เกร็งกล้ามเนื้อท้องที่ดึงพับเข่าและลำตัวเข้าสวนทางกันเป็นวิธีตีเข่าตรงที่ได้ผลดี


11. เตะเฉียง

คือการใช้ขาเหวี่ยงปะทะไปยังคู่ต่อสู้โดยมีเป้าหมายที่ชายโครง ลำตัว หรือปลายคางของคู่ต่อสู้ในแนวเฉียงจากพื้นสามารถใช้ได้ทั้งขาหน้าและขาหลังในการโอกาสที่คู่ต่อสู้เสียหลักจากการ

เหวี่ยงหมัดหรือเท้าหรือแม้แต่การยืนอยู่กับที่เราก็สามารถเตะเฉียงปะทะเป้าหมายได้เช่นกัน อวัยวะส่วนขามีขนาดใหญ่และแข็งแรงมากสร้างความเจ็บปวดให้คู่ต่อสู้ได้เป็นอย่างดี

 


12. เตะตัดบน

คือการเตะที่มีวิถีทางเฉียงขึ้น หรือโค้งขึ้นแล้วตัดขนานไปกับพื้นดิน ปะทะกับคู่ต่อสู้ในแนวที่สูงกว่าโคนขาใช้เมื่อคู่ต่อสู้ไม่รัดกุม ไม่ยกมือปิดใบหน้า ศีรษะ คอ ปลายทาง ท้ายทอย หน้าอกและไหล่หรือเมื่อคู่ต่อสู้ถลำเข้ามาผิดจังหวะ

เราสามารถเตะสวนกับทิศทางที่เข้ามาที่เรียกว่าเตะทวนน้ำหรือเตะ ตามทิศทางการเข้ามาของคู่ต่อสู่ทางด้านหลัง เรียกว่าเตะตามน้ำก็ได้ แม้แต่คู่ต่อสู้ที่รัดกุมจนเกินไป เมื่อโดนแรงปะทะของขาแล้วใช้แขนกันก็จะได้รับความเจ็บปวดเป็นอย่างมากเช่นกัน


13. เตะตัดกลาง

 

คือการเตะที่มีวิถีทางเฉียงขึ้น หรือโค้งขึ้นแล้วตัดขนานไปกับพื้น มีเป้าหมายระดับโคนขาของคู่ต่อสู้ การเตะตัดกลางมีข้อดีคือเตะได้ระยะไกล แต่คู่ต่อสู้ก็สามารถป้องกันได้โดยง่าย เช่นสามารถยกเข่าขึ้นป้องกันการเตะของเราได้

ดังนั้นจึงต้องอาศัยจังหวะและโอกาสที่เหมาะสมในการใช้เช่น ในจังหวะที่คู่ต่อสู้ยืนเฉยไม่ระวังตัว หรือในระยะประชิดที่คู่ต่อสู้ออกอาวุธศอก หรือหมัดเข้าหาเราโดยเรามักจะเตะตัดกลางที่โคนขาหรือท้อง

 


14. เตะตัดล่าง

คือการเตะในระดับต่ำกว่าโคนขาของคู่ต่อสู้ ใช้สำหรับการรุกเข้าชิงความได้เปรียบก่อน ต้องอาศัยความรวดเร็วในการเข้าทำและล่าถอยแรงเตะต้องล้ำไปทางด้านหน้า ขาเหยียดกวาดกว้าง ก้มหน้ายกแขนกันศรีษะไว้ หลีกเลี่ยงการใช้ขาปะทะแข้งหรือเข่าของคู่ต่อสู้

มุ่งโจมตีไปยังบริเวณข้อพับขาทั้งนอกและใน คู่ต่อสู้ที่ขาไม่แข็งแรงเมื่อโดนเตะตัดล่างจะได้รับความเจ็บปวดมาก ทำให้จู่โจมหรือเคลื่อนไหวลำบาก เราสามารถเพิ่มความรุนแรงของการเตะได้โดยการใช้แรงบิดสะโพก เอว ลำตัวและหัวไหล่เข้าช่วยการปะทะเป้าหมาย


15. จระเข้ฟาดหาง (เตะเหวี่ยงหลัง/ เตะกลับหลัง)

เตะกลับหลัง มวยไทยเรียกแม่ไม้ท่าเตะนี้ว่า จระเข้ฟาดหาง และกวางเหลียวหลัง หมายถึงการหมุนตัวหันหลังให้คู่ต่อสู้แล้วเหวี่ยงขาที่วางอยู่ด้านหลัง ให้ส้นเท้าปะทะเป้าหมาย คือ บริเวณ คอ คาง หน้าอก และ ท้อง


16. กระโดดเตะ

เป็นการเตะกลางอากาศ อาศัยแรงพุ่งตัวไปข้างหน้าแล้วลอยตัวเตะไปยังใบหน้า ปลายคาง คอ หน้าอก ท้อง หรือชายโครงใช้ในจังหวะคู่ต่อสู่เสียเปรียบ ป้องกันตัวไม่รัดกุม แรงที่ส่งจากพื้น สู่ขา เมื่อผสานเข้ากับจังหวะการบิดเอว

เกร็งกล้ามท้องและยกขาเตะกลางอากาศจะมีความรุนแรงหนักหน่วงมาก เมื่อปะทะเข้ากับคู่ชกถูกจังหวะอาจถึงขั้นหมดสติได้ในทันทีหรือสร้างความเจ็บปวดให้คู่ชกได้เป็นอย่างมาก

 


17. เตะครึ่งแข้งครึ่งเข่า

คือการเตะให้หน้าแข้งปะทะเข้าเป้าหมาย งอเข่าเล็กน้อยใช้ในโอกาสที่คู่ชกพุ่งเข้ามาหาเรา ใช้เพื่อสกัดการเข้าประชิดของคู่ชก


18. เตะตวัด

เตะกดหรือนาคาขนดหาง เป็นการเตะเมื่อเท้าลอยสูงสุดแล้วกดปลายเท้าและ หน้าแข้ง ลงอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนทิศทางของปลายเท้าเตะหักลงอย่างรวดเร็วทำให้การกดมีความรุนแรง เป้าหมายอยู่ที่ท้ายทอยก้านคอ ขมับ หน้าอก ท้อง หรือหลัง


19. ตีลังกาเตะ

 

หรือม้าดีดกะโหลกใช้ในโอกาสที่คู่ชกเสียหลัก ไม่ระวังตัว หรือ เราเป็นฝ่ายได้เปรียบมากๆใช้มือยันหกคะเมนตีลังกาแล้วพยายามให้ส้นเท้าปะทะเป้าหมาย

หรือ พลิกข้อเท้าให้หลังเท้าหน้าแข้งเข้าเป้าหมายก็ได้ทิศทางที่เป็นวิถีโค้งตีลงมาจะสร้างแรงปะทะมหาศาลให้คู่ชกจนถึงขั้นได้รับบาดเจ็บสาหัส


20. เหยียบเตะ

เมื่อคู่ชกเสียเปรียบ ไม่ทันตั้งตัว เราสามารถใช้อวัยวะของคู่ชกเป็นฐานเหยียบเพื่อใช้เท้าอีกข้างเตะไปยังใบหน้า ขมับ หรือ ปลายคาง เพื่อกำชัยชนะเบ็ดเสร็จ ส่วนใหญ่มักเหยียบไปยังบริเวณเข่า หน้าขา หรือเอวของคู่ชก

แล้วตวัดขาอีกข้างเข้าเป้าหมายทันที คู่ชกจะได้รับบาดเจ็บอย่างร้ายแรงตามบริเวณจุดปะทะดังกล่าวอาจถึงขั้นหมดสติได้ในทันที


21. ถอยสุดระยะกันเตะ, ถอยสุดระยะกันถีบ

การถอยให้พ้นระยะ หมายถึงการถอยให้ห่างคู่ต่อสู้ อาจจะกระโดดเลื่อนเท้า ถอยหลัง หรือก้าวถอยหลัง แต่ต้องให้พ้นระยะไม้มวยของคู่ต่อสู้ ดังนั้นการถอยนี้จึงหมายถึงการเคลื่อนที่ออกห่างคู่ต่อสู้ในจังหวะที่คู่ต่อสู้ใช้ไม้มวยจู่โจมมา เมื่อถอยพ้นระยะแล้วจะต้องอยู่ในท่าที่พร้อมจะตอบโต้คู่ต่อสู้ได้ทันที

การถอยให้พ้นระยะ หมายถึงการถอยให้ห่างคู่ต่อสู้ อาจจะกระโดดเลื่อนเท้า ถอยหลัง หรือก้าวถอยหลัง แต่ต้องให้พ้นระยะไม้มวยของคู่ต่อสู้ ดังนั้นการถอยนี้จึงหมายถึงการเคลื่อนที่ออกห่างคู่ต่อสู้ในจังหวะที่คู่ต่อสู้ใช้ไม้มวยจู่โจมมา เมื่อถอยพ้นระยะแล้วจะต้องอยู่ในท่าที่พร้อมจะตอบโต้คู่ต่อสู้ได้ทันที


22. จับ กันเตะ

การจับทำให้ล้ม ในมวยไทยมีหลายแบบ แต่ที่ถูกต้องตามกติกาะต้องไม่ขัดขา ซึ่งอาจจะใช้วิธีการบังเกาะจับ แล้วจึงผลักให้ล้ม หรือการกอดรัดแล้วเหวี่ยงให้ล้ม หรือการกอดรัดอุ้มหน้าอก อุ้มเอว แล้วเหวี่ยงให้ล้ม

อย่างไรก็ตามการทำให้ล้มต้องอาศัยศิลปะการใช้แรงเหวี่ยง เพราะการล้มบางครั้ง ไม่ต้องใช้แรงมากนัก ก็สามารถทำให้คู่ต่อสู้ล้มได้


23. ปัด กันเตะ, ปัด กันถีบ

การปัดให้ไม้มวยของคู่ต่อสู้เบี่ยงเบนออกไป หมายถึงการใช้ข้อมือ หรือแขนปัดไม้มวยของคู่ต่อสู้ ให้เบี่ยงเบนไปยังเป้าหมายอื่น หรือทำให้คู่ต่อสู้เสียหลัก เสียการทรงตัวเป็นการเปิดโอกาศให้เราใช้ไม้มวยตอบโต้ได้ ไม่ว่าจะเป็นไม้หมัด ไม้เตะ ไม้ถีบ ไม้เข่า และไม้ศอก เราสามารถปัดให้เบี่ยงเบนและเสียหลักได้ทั้งนั้น แต่ถ้าให้ไม้รับนี้ได้ผลมักจะใช้กับไม้มวยที่พุ่งมาในทิศทางตรง เช่น หมัดตรง ถีบตรง เข่าตรง เป็นต้น

การปัดให้ไม้มวยของคู่ต่อสู้เบี่ยงเบนออกไป หมายถึงการใช้ข้อมือ หรือแขนปัดไม้มวยของคู่ต่อสู้ ให้เบี่ยงเบนไปยังเป้าหมายอื่น หรือทำให้คู่ต่อสู้เสียหลัก เสียการทรงตัวเป็นการเปิดโอกาศให้เราใช้ไม้มวยตอบโต้ได้ ไม่ว่าจะเป็นไม้หมัด ไม้เตะ ไม้ถีบ ไม้เข่า และไม้ศอก เราสามารถปัดให้เบี่ยงเบนและเสียหลักได้ทั้งนั้น แต่ถ้าให้ไม้รับนี้ได้ผลมักจะใช้กับไม้มวยที่พุ่งมาในทิศทางตรง เช่น หมัดตรง ถีบตรง เข่าตรง เป็นต้น


24. ชิงถีบ กันเตะ, ชิงถีบ กันถีบ

การชิงทำหรือชิงตอบโต้ หมายถึงการใช้ไม้มวยตอบโต้คู่ต่อสู้ที่กำลังจะใช้ไม้รุกมายังเรา โดยให้ไม้มวยของเราออกไปถึงเป้าหมายก่อนที่ไม่รุกของคู่ต่อสู้จะถึงเรา และไม้มวยของเราจะต้องถูกที่สำคัญกว่า การที่เราชิงทำหรือชิงตอบโต้คู่ต่อสู้ได้ จะต้องจับทาง หรืออ่านเชิงคู่ต่อสู้ออกว่าจะใช้ไม้รุกอย่างไร รวมทั้งมีความรู้ความสามารถในการแก้ทางมวยได้เป็นอย่างดี เช่น การชิงชกนำด้วยหมัดตรงซ้ายก่อนขณะที่คู่ต่อสู้กำลังจะเตะตัดบนและเตะเฉียงขวา เป็นต้น ผู้ที่จะสามารถชิงทำหรือชิงตอบโต้ได้ดี จะต้องศึกษาเรื่องการแก้ทางมวยและฝึกฝนจนชำนาญ
การชิงทำหรือชิงตอบโต้ หมายถึงการใช้ไม้มวยตอบโต้คู่ต่อสู้ที่กำลังจะใช้ไม้รุกมายังเรา โดยให้ไม้มวยของเราออกไปถึงเป้าหมายก่อนที่ไม่รุกของคู่ต่อสู้จะถึงเรา และไม้มวยของเราจะต้องถูกที่สำคัญกว่า การที่เราชิงทำหรือชิงตอบโต้คู่ต่อสู้ได้ จะต้องจับทาง หรืออานเชิงคู่ต่อสู้ออกว่าจะใช้ไม้รุกอย่างไร รวมทั้งมีความรู้ความสามารถในการแก้ทางมวยได้เป็นอย่างดี เช่น การชิงชกนำด้วยหมัดตรงซ้ายก่อนขณะที่คู่ต่อสู้กำลังจะเตะตัดบนและเตะเฉียงขวา เป็นต้น ผู้ที่จะสามารถชิงทำหรือชิงตอบโต้ได้ดี จะต้องศึกษาเรื่องการแก้ทางมวยและฝึกฝนจนชำนาญ

25. โยกหลบ กันเตะ, โยกหลบ กันถีบ

การชิงทำหรือชิงตอบโต้ หมายถึงการใช้ไม้มวยตอบโต้คู่ต่อสู้ที่กำลังจะใช้ไม้รุกมายังเรา โดยให้ไม้มวยของเราออกไปถึงเป้าหมายก่อนที่ไม่รุกของคู่ต่อสู้จะถึงเรา และไม้มวยของเราจะต้องถูกที่สำคัญกว่า การที่เราชิงทำหรือชิงตอบโต้คู่ต่อสู้ได้ จะต้องจับทาง หรืออ่านเชิงคู่ต่อสู้ออกว่าจะใช้ไม้รุกอย่างไร รวมทั้งมีความรู้ความสามารถในการแก้ทางมวยได้เป็นอย่างดี เช่น การชิงชกนำด้วยหมัดตรงซ้ายก่อนขณะที่คู่ต่อสู้กำลังจะเตะตัดบนและเตะเฉียงขวา เป็นต้น ผู้ที่จะสามารถชิงทำหรือชิงตอบโต้ได้ดี จะต้องศึกษาเรื่องการแก้ทางมวยและฝึกฝนจนชำนาญ

การโยกตัวหรือเอนตัวให้พ้นระยะ บางท้องที่เรียกว่า “การดึงตัว” หมายถึงการโยกตัวหรือเอนตัวออกให้พ้นระยะไม้มวยของคู่ต่อสู้ไม่ให้มาปะทะตัวเรา โดยไม่ต้องกระโดดถอยหลัง หรือฉากหลบ เช่น เมื่อคู่ต่อสู้เตะตัดบนเป้าหมายลำตัวของเรา ให้รีบโก่งตัวไปทางด้านหลังให้เท้าคู่ต่อสู้ผ่านลำตัวไป การโยกตัวหรือเอนตัวลักษณะนี้ไม่นิยมออกห่างคู่ต่อสู้จนเกินไป เพราะถ้าอยู่ห่างไปจะทำให้ไม่สามารถตอบโต้คู่ต่อสู้ได้ทัน