ขั้นที่ 4 การใช้เข่า

ขั้นที่ 4 การใช้เข่า

การใช้เข่าป้องกัน

การใช้เข่า ในศิลปะมวยไทย จัดว่าเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นที่สุดของมวยไทยควบคู่กับการใช้ศอก ที่ใครเห็นก็การชกที่มีการใช้เข่าก็ทราบได้ทันทีว่านี่คือมวยไทย ซึ่งการฝึกใช้เข่าในการต่อสู้นั้นมีความยากพอสมควร ซึ่งไม่ยากในการเรียนรู้ แต่ยากในการออกอาวุธได้ถูกต้องและรุนแรง แต่หากฝึกสำเร็จก็นับเป็นอาวุธชั้นดีในการต่อสู้ระยะประชิดตัวศิลปะการใช้เข่า ภายในเล่มจะนำเสนอ การใช้เข่าของมวยไทยหลากหลายรูปแบบ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ การใช้เข่าโดยไม่ใช้มือหรือแขน และการใช้ศอกโดยใช้มือหรือแขนช่วยเกาะยึด การฝึกการใช้เข่าต้องฝึกร่วมกับผู้อื่น ฉะนั้นผู้ศึกษาควรศึกษาทางทฤษฎีให้เข้าใจก่อนนำไปฝึกซ้อมปฏิบัติ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บและอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นโดยแต่ละท่าเข่า จะบอกขั้นตอนของการออกอาวุธโดยละเอียด พร้อมภาพประกอบ ตลอดจนเกร็ดคำแนะนำที่มีประโยชน์ เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจและเห็นภาพได้อย่างชัดเจน


1. เข่าตรง

ถ้านักมวยจดเหลี่ยวขวา ให้ใช้เข่าขวาเหยียดปลายเท้าไปข้างหน้า หัวเข่าเฉียง ไปทางซ้ายพร้อมกับบิดตัวพุ่งเข้าไปข้างหน้าที่ท้องหรือออกคู่ต่อสู้

ใช้เวลารุก รับ หรือถอย การป้องกัน บิดตัวพร้อมกับกดศอกซ้ายลงปิดชายโครง การตอบแก้ ใช้เท้าขวาถีบจิกยันคู่ต่อสู้ ถ้านักมวยจดเหลี่ยมซ้ายให้กลับคำอธิบายขวาเป็นซ้ายทั้งสิ้น


2. เข่าเฉียง

ถ้านักมวยจดเหลี่ยมขวาให้ใช้เข่าซ้ายเอียงเข่ามาทางขวาแล้วหมุนตัวมาทางขวา พร้อมกับเหวี่ยงเข่าโดยแรงที่ชายโครงข้างขวาของคู่ต่อสู้ ใช้เวลารับเมื่อคู่ต่อสู้โถมเข้ามา การป้องกัน ให้เอียงตัวข้างขวา

กดศอกลงปิดชายโครง การตอบแก้ ใช้เข่าข้างซ้ายตีชายโครงข้างขวาของคู่ต่อสู้หรือพุ่งตรงหมายท้องคู่ต่อสู้ก็ได้ ถ้านักมวยจดเหลี่ยมซ้าย ให้กลับคำอธิบายขวาเป็นซ้ายทั้งสิ้น


3. เข่าโค้ง

ถ้านักมวยจดเหลี่ยมขวา ให้เลื่อนเท้าขวามาชิดเท้าซ้าย ย่อตัวงอเข่ากระโดดขึ้น เอาเข่าตีคางคู่ต่อสู้พร้อมกับใช้ศอก 2 ข้างตีหน้าคู่ต่อสู้ด้วยก็ได้ ใช้เวลารุก หรือถอย การป้องกัน ให้กระโดดถอย

หลัง ให้แขนข้างซ้ายขวางรับศอกบนแขนขวาขวางรับเข่าข้างล่างการตอบแก้ ให้ใช้ขาขวาเตะขาคู่ต่อสู้เวลากระโดดชึ้นให้เสียหลัก แล้วใช้ศอกขวาตามตีหมายบริเวณหน้าคู่ต่อสู้


4. เข่าตัด

เข่านี้ใช้ได้ทั้งสองข้าง เพราะใช้เมื่อคู่ต่อสู้รุกเข้ามา หรือคู่ต่อสู้เสียหลัก ให้ใช้แขนหรือศอกตีคอคู่ต่อสู้กดลง แล้วใช้เข่าข้างยกขึ้นตีหมายลูกคางหรืออกของคู่ต่อสู้ ใช้เวลาเข้าประชิดหรือคู่ต่อสู้เสีย

หลัก การป้องกัน ให้ยกแขนสองข้างและหมัดกันหน้าและอก การตอบแก้ เมื่อตั้งหลักได้ให้บิดตัวไปทางซ้ายหรือขวา เพื่อหาทางตอบโต้


5. เข่าเหน็บ

เข่านี้ใช้ตีสลับกัน เช่น ถ้าจดเหลี่ยมขวาให้เข่าซ้ายตะแคงตีชายโครงข้างซ้ายของคู่ต่อสู้ เข่าขวางงอพุ่งตรงที่ท้องหรืออกคู่ต่อสู้สลับกัน เข่าขวาตีชายโครงข้างซ้ายคู่ต่อสู้เข่าซ้ายพุ่งตรงที่ท้องหรืออกคู่ต่อสู้ ใช้เวลารุก คู่ต่อสู้เสียหลักติดพัน การป้องกัน

ให้เอียงตัวกดศอกขวาลงปิดชายโครงข้างขวาพร้อมกับบิดตัวหันข้างไปทางขวา กดศอกซ้ายลงปิดชายโครงข้างซ้าย การตอบแก้ ใช้เท้าซ้ายถีบบริเวณท้องคู่ต่อสู้ให้คู่ต่อสู้เสียหลักแล้วตามด้วยเชิงอื่น


6. เข่าน้อย

ถ้านักมวยจดเหลี่ยมขวา ให้ใช้เข่าซ้ายตะแคงมาทางขวา ตีเหวี่ยงเข้าชายโครงข้างขวาของคู่ต่อสู้ ใช้ศอกข้างขวาคว่ำมือลงงอแขนมาทางข้างหน้าตีเหวี่ยงลงที่ขากรรไกรข้างซ้ายของคู่ต่อสู้ ใช้เวลารับ หรือถอย เมื่อคู่ต่อสู้รุกเข้ามา

การป้องกัน เอียงตัวกดข้อศอกขวาลงต่ำปิดชายโครงข้างขวากัน เข่าซ้ายของคู่ต่อสู้ ใช้แขนซ้ายปัดศอกขวาของคู่ต่อสู้ไปข้างหลัง การตอบแก้ ใช้เท้าซ้ายถีบจิกที่ท้องคู่ต่อสู้ ถ้านักมวยจดเหลี่ยมซ้าย กลับคำอธิบายขวาเป็นซ้ายทั้งสิ้น


7. เข่าลา

ถ้านักมวยจดเหลี่ยมขวา ให้ใช้เข่าตะแคงตีชายโครงข้างขวาของคู่ต่อสู้ พร้อมกับใช้ศอกขวาและซ้าย ศอกซ้ายเสยคางขึ้นศอกขวาตีปักลงที่ไหปลาร้า หรือซอกคอคู่ต่อสู้ใช้เวลารุกรับ ถอย การป้องกัน

เอียงตัวพร้อมกับกดศอกขวาลงปิดชายโครงข้างขวากันเข่าซ้ายคู่ต่อสู้ใช้แขนซ้ายยกขึ้นขวางรับศอกขวาคู่ต่อสู้ การตอบแก้ ให้ใช้เท้าซ้ายถีบจิกหน้าท้องคู่ต่อสู้ให้เสียหลัก แล้วใช้เชิงอื่นตาม


8. เข่าโหน

คือเข่าที่ต้องอาศัยมือ หรือแขนเกาะโหนคอ ไหล่ หรือศรีษะของคู่ชกเอาไว้แล้วตีเข่าสวนขึ้นซึ่ง แรงที่กดลงสวนกับทิศทางเข่าที่ตีสวนขึ้นจะทำให้ เป้าหมายเสียหาย บอบช้ำมาก เช่นการโหนตีเข้าที่ใบหน้า ลิ้นปี่ หรือหน้าอก เป็นต้น


9. เข่ากด

เป็นการตีเข่าที่ใช้แรงดันออกจากลำตัว เป็นการตีเข่ากดลง ผู้ที่มีรูปร่างสูงจะใช้เข่ากดได้ดี เมื่อกดออกและกดลงแล้วจะรุนแรงมาก เมื่อออกท่าเข่ากดแล้วยกค้างเอาไว้ก็จะเป็นการป้องกันตัวได้ดีอีกด้วย


10. เข่าโยน

เข่าโยน คือการตีเข่าขึ้นตรงๆโดยการกระโดดตัวลอยพ้นจากพื้น เท้าที่ยืนเป็นหลักจะลอยขึ้นจากพื้น น้ำหนักตัวอยู่ที่เข่า การกระโดดอาจจะเป็นทิศทางขึ้นตรงๆหรือพุ่งไปข้างหน้าก็ได้ เข่าลอยที่ได้ผลดีมักใช้เข่าจากเท้าหลังตีขึ้นเพราะมีความหนักหน่วงรุนแรงกว่าเข่าที่อยู่ขาหน้า เป้าหมายของการใช้เข่าลอยคือ ท้องน้อย ท้อง ลิ้นปี่ หน้าอก ปลายคางและหน้าฝึกฝน

ด้วยการวิ่งหรือกระโดดเข้าเป้าหมายเมื่อเท้าถึงพื้นให้ใช้เท้าหลังดีดตัวส่งแรงตีเข่าขึ้น ขาด้านหน้าเหยียดตรงขาที่ตีเข่าเมื่อดีดขึ้นจะงอพับและพุ่งล้ำหน้าไปยังเป้าหมาย แขนซ้ายขวาปิดคางให้รัดกุม ป้องกันการสวนกลับโอกาสในการใช้เข่าลอยคือเวลาที่คู่ชกเสียหลัก ไม่ระวังตัว หรือหากชำนาญมากก็สามารถใช้เป็นการโต้กลับในเวลาที่คู่ชกรุกเข้ามาผิดจังหวะก็ได้เช่นกัน


11. เข่ายอ

เป็นการตีเข่าโดยเอามือกดคู่ชกเพื่อดันตัวขึ้นตีเข่าซึ่งส่งให้น้ำหนักเข่าหนักหน่วงและรุนแรงมาก เช่นเอามือกดที่เข่าคู่ชกแล้วเด้งตัวขึ้นตีเข่า หรือ กดหน้าตัก เอว หน้าขาส่วนบนเป็นต้น


12. เข่าเหยียบ

เป็นการตีเข่าที่อาศัยการใช้เท้าข้างหนึ่งขึ้นเหยียบคู่ชกแล้วใช้ขาอีกข้างตีเข้าที่บริเวณศรีษะ ขมับ คอ ใบหน้า ปลายคาง หน้าอก หรือ ท้อง ทั้งนี้การเหยียบตีเข่าเป็นท่ามวยที่อาศัยการจรดมวยแบบโบราณ

ที่เราสามารถใช้ขาของคู่ชกเป็นฐานซึ่งแตกต่างกับการจรดมวยในยุคปัจจุบันจึงยากต่อการฝึกฝนและถือว่าเป็นท่าที่อันตราย ส่งผลกับความเสียหายของสมองโดยตรง ปัจจุบันจึงฝึกฝนกันเพื่อสาธิตเท่านั้น


13. เข่าคู่

เป็นการใช้เข่าทั้งสองข้างโจมตีพร้อมกันโดยมีเป้าหมายที่ปลายคาง ยอดอก ซึ่งเป็นท่าที่อันตรายมากเพราะน้ำหนักที่โถมเข้ามาบวกกับแรงปะทะของเข่าทั้งสองข้าง

จะสร้างความเสียหายให้กับคู่ชกได้มากอันตรายถึงขั้นซี่โครงหักและทำลายปอดได้ ท่าเข่าคู่จึงมีให้เห็นเฉพาะการแสดงสาธิตจากนักมวยที่ฝึกฝนมาแล้วอย่างดีเท่านั้น


14. เข่าลอย

เข่าลอย คือการตีเข่าขึ้นตรงๆโดยการกระโดดตัวลอยพ้นจากพื้น เท้าที่ยืนเป็นหลักจะลอยขึ้นจากพื้น น้ำหนักตัวอยู่ที่เข่า การกระโดดอาจจะเป็นทิศทางขึ้นตรงๆหรือพุ่งไปข้างหน้าก็ได้ เข่าลอยที่ได้ผลดีมักใช้เข่าจากเท้าหลังตีขึ้นเพราะมีความหนักหน่วงรุนแรงกว่าเข่าที่อยู่ขาหน้า เป้าหมายของการใช้เข่าลอยคือ ท้องน้อย ท้อง ลิ้นปี่ หน้าอก ปลายคางและหน้าฝึกฝนด้วยการวิ่งหรือกระโดดเข้าเป้าหมาย

เมื่อเท้าถึงพื้นให้ใช้เท้าหลังดีดตัวส่งแรงตีเข่าขึ้น ขาด้านหน้าเหยียดตรงขาที่ตีเข่าเมื่อดีดขึ้นจะงอพับและพุ่งล้ำหน้าไปยังเป้าหมาย แขนซ้ายขวาปิดคางให้รัดกุม ป้องกันการสวนกลับโอกาสในการใช้เข่าลอยคือเวลาที่คู่ชกเสียหลัก ไม่ระวังตัว หรือหากชำนาญมากก็สามารถใช้เป็นการโต้กลับในเวลาที่คู่ชกรุกเข้ามาผิดจังหวะก็ได้เช่นกัน


15. กันด้วยแขน

การปิดป้อง หมายถึงการแขนปิดป้องอวัยวะที่เป็นจุดอ่อนของร่างกาย การใช้ศอกปิดป้องบริเวณหน้าอก แต่อย่างไรก็ดี เมื่อปิดป้องแล้วจะต้องอยู่ในท่าที่สามารถตอบโต้คู่ต่อสู้ได้ทันที

16. จับทุ่ม

การทำให้ล้มในมวยไทยมีหลายแบบ แต่ที่ถูกต้องตามกติกาะต้องไม่ขัดขา ซึ่งอาจจะใช้วิธีการบังเกาะจับ แล้วจึงผลักให้ล้ม หรือเหวี่ยงให้ล้ม

อย่างไรก็ตามการทำให้ล้มต้องอาศัยศิลปะการใช้แรงเหวี่ยง เพราะการล้มบางครั้ง ไม่ต้องใช้แรงมากนัก ก็สามารถทำให้คู่ต่อสู้ล้มได้


17. กันด้วยเข่า

กันด้วยเข่า หมายถึงการเข่าปิดป้องอวัยวะที่เป็นจุดอ่อนของร่างกาย ส่วนมากการปิดป้องจะต้องปะทะกับไม้มวยของคู่ต่อสู้อย่างรุนแรง

จึงต้องใช้ส่วนที่แข็งแรงกว่าส่วนที่เป็นไม้มวยของคู่ต่อสู่ที่จู่โจมมา ใช้เข่าปิดป้องบริเวณหน้าอก ชายโครง แต่อย่างไรก็ดี เมื่อปิดป้องแล้วจะต้องอยู่ในท่าที่สามารถตอบโต้คู่ต่อสู้ได้ทันที


18. ผลักให้เสียหลัก

ใช้วิธีการบังเกาะจับ แล้วจึงผลักให้ล้ม ผลักที่ต้นแขนคู่ชกออกสุดแรง เมื่อปิดป้องแล้วจะต้องอยู่ในท่าที่สามารถตอบโต้คู่ต่อสู้ได้ทันที