ขั้นที่ 5 การใช้ศอก

ขั้นที่ 5 การใช้ศอก

Defending Elbow

ศอก เป็นอาวุธในร่างกายที่ทรงพลังอย่างยิ่ง เพราะเป็นส่วนของกระดูข้อต่อระหว่างแขนท่อนล่างกับท่อนบน และมีลักษณะที่แข็งและแหลมมาก ถือเป็นอาวุธลับที่จัดการคู่ต่อสู้ให้เจ็บหนักหรือถึงขั้นสลบได้เลย หากออกศอกได้ถูกต้อง แรง เร็ว และตรงจุด ศิลปะการใช้ศอก จะประกอบด้วยวิธีการใช้ศอกหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ศอกตี ศอกตัด ศอกงัด ศอกพุ่ง ศอกงัดตาม ศอกกระทุ้ง ศอกกลับ ศอกถอง ศอกปลาหมดแถกเหงือก ศอกคู่ ศอกเฉือน ศอกเช็ด และ ศอกเฉียง การฝึกการใช้ศอกต้องฝึกร่วมกับผู้อื่น ฉะนั้นผู้ศึกษาควรศึกษาทางทฤษฎีให้เข้าใจก่อนนำไปฝึกซ้อมปฏิบัติ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บและอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นโดยแต่ละท่าการใช้ศอก จะบอกขั้นตอนการออกอาวุธอย่างละเอียด พร้อมภาพประกอบ อีกทั้งสอดแทรกเกร็ดคำแนะนำ ที่จะทำให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจและเห็นภาพ


1. ศอกตี

ศอกตี/Elbow Strike

การตีศอกถือเป็นอาวุธสั้นใช้ในระยะประชิด มักมีเป้าหมายอยู่ที่ใบหน้าของคู่ชก เพื่อให้เจ็บปวด บวมหรือแตก การตีศอกมีสองแบบคือตีด้วยศอกหน้า และ ตีด้วยศอกหลัง ลักษณะของศอกตีจะมีทิศทางจากบนลงล่างเป็นมุมฉากหรือน้อยกว่าก็ได้ การตีศอกหน้าให้เริ่มด้วยการย่อเข่ายืดตัวขึ้นสูง น้ำหนักถ่ายมาเท้าหลังแล้วกดศอกลงในทิศตรงข้ามบิดเอวหัวไหล่และถ่ายน้ำหนักลงมายัง

เท้าหน้าทันที ส่วนการตีศอกหลังให้ปฏิบัติเหมือนกัน ซึ่งแรงของการตีศอกจะเกิดจากการส่งแรงจากเท้าหลังมายังเท้าหน้า การบิดสะโพก เอวไหล่ เหวี่ยงแขน การดึงไหล่ และการถ่ายน้ำหนักจากหลังมาหน้าในทันที


2. ศอกตัด

ศอกตัด /Horizontal Elbow

คือการตีศอกโดยให้วิถีของศอกเคลื่อนตัดผ่านหน้าขนานไปกับพื้นจากซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย แบ่งออกเป็นสองลักษณะคือ ศอกตัดด้วยศอกที่อยู่ด้านหน้า และศอกตัดด้วยศอกที่อยู่ด้านหลัง การตัดศอกด้วยศอกหน้า จะอาศัยการส่งแรงจากขาหลังมาหน้า เหยียดขาหลังตึง บิดหมุนลำตัว ไหล่ เหวี่ยงศอก ดึงไหล่อีกข้างไปข้างหลัง ท้องและแขนอีกข้างบิดตามเข็มนาฬิกา น้ำ

หนักตัวทิ้งมาที่ศอกหน้าและเท้าหน้า เป้าหมายที่ บริเวณใบหน้า ปลายคาง การตัดศอกด้วยศอกหลังจะมีความหนักหน่วงกว่าศอกหน้ามากเพราะมีการถ่ายน้ำหนักจากเท้าหลังมาเท้าหน้าบวกกับการบิดศอกหลังพุ่งเหวี่ยงตัดเข้าเป้าหมายทำให้คู่ชกบาดเจ็บได้มากกว่า


3. ศอกงัด

ศอกงัด /Elbow Uppercut

คือการตีศอกด้วยศอกหน้าหรือศอกหลัง ในทิศทางจากล่างขึ้นบนตรงๆเป้าหมายที่ปลายคาง หน้าอก ลิ้นปี่ หรือใบหน้าการตีศอกงัดให้ได้ผลจะต้องอาศัยการย่อตัวแล้วยืดขึ้น ถ่ายน้ำหนักจากเท้าหลังมาเท้าหน้า ฟันศอกให้เป็นมุมแหลมที่สุด บิดสะโพกไปในทิศทางที่สอดคล้องกับศอกที่ตีเช่นตีด้วยศอกซ้าย ก็ให้บิดสะโพกหันมาทางขวาข้างหลัง

หากตีศอกขวาก็ให้บิดเอวสะโพกมาซ้ายข้างหลัง จะทำให้เกิดแรงส่งเพิ่มไปยังศอกที่งัดหรือตีได้อีกแรง โดยส่วนใหญ่ศอกงัดที่มาจากศอกหลังจะมีความรุนแรงหนักหน่วงกว่าศอกหน้าทั้งนี้เพราะมีการเหยียดขาตึงจากเท้าหลังมาเท้าหน้าเป็นการเสริมแรงให้การงัดศอกหนักหน่วงเพิ่มขึ้นไปอีก


4. ศอกพุ่ง

ศอกพุ่ง /Forward Elbow Thrust

คือศอกที่ตั้งตรงไว้ตามแนวทิศทางของคู่ชก พับข้อศอกให้ส่วนแหลมไปข้างหน้า แล้วเคลื่อนเท้าเข้าปะทะคู่ชก เกร็งข้อศอกให้ชิดแน่นกับคาง ไหล่ ศรีษะ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของการปะทะให้มากขึ้น เป้าหมายคือบริเวณหน้าผาก คิ้วตา จมูก ปาก คาง รวมถึงหน้า อก คอ ไหล่ ท้อง นักมวยที่ถนัดขวามักจะใช้ศอกพุ่งด้วยศอกซ้าย

นักมวยถนัดซ้ายมักใช้ศอกขวาเป็นศอกพุ่ง ศอกพุ่งใช้ได้ดีในการสวนกลับการรุกของคู่ชกที่รุกเข้ามาอย่างไม่ระมัดระวัง ในสมัยก่อนมีการใช้ศอกพุ่งพร้อมกันทั้งสองข้างเพื่อสกัดการเข้ารุกแต่ในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมเพราะคู่ชกไม่เปิดโอกาสให้ได้ใช้ศอกพุ่งพร้อมกันทั้งสองข้างได้สะดวก


5. ศอกกระทุ้ง

ศอกกระทุ้ง /Poking Elbow

คือการตีศอกที่เกิดจากการตีศอกผิดพลาดแล้วกระชากศอกกลับคืนมายังเป้าหมายเดิมในลักษณะกระทุ้งกลับเฉียงไปข้างลำตัว

ใช้ในโอกาสที่ตีศอกพลาด คู่ชกประชิดมาข้างหลัง หรือเข้ามากอดปล้ำ การตีศอกกระทุ้งที่ได้ผลดีควรจะต้องมีแรงส่งจากเท้าด้วย


6. ศอกกลับ

ศอกกลับ /Spinning Elbow

คือการตีศอกโดยการหมุนตัวตี แทนที่จะผ่านหน้าตัวเองเหมือนศอกตีและศอกตัด ก็จะเปลี่ยนเป็นการตีกลับไปด้านหลัง นิยมใช้ศอกหลังเป็นศอกกลับเพราะมีความหนักหน่วงรุนแรงมาก สามารถศอกกลับได้ทั้งเฉียงลง เฉียงขึ้นหรือศอกกลับตัดขนานกับพื้น มีวิธีปฏิบัติโดยเริ่มจากใช้เท้าหน้าเป็นจุดหมุนก่อนแล้วให้น้ำหนักตัวถ่ายมายังเท้าหน้าจากนั้นเท้าหลังก้าวเลยขึ้นมาหมุนตัวกลับ

กางศอกหลังออกกระชากกลับหลังอย่างแรงตามจังหวะหมุน บิดเอว ลำตัวไหล่ ถ่ายแรงไปยังศอกที่ตีกลับไป เป้าหมายปลายคาง ใบหน้า ศีรษะ คิ้ว แก้ม เบ้าตา แรงส่งนี้จะทำให้ศอกมีน้ำหนักและแรงปะทะสูงใช้ในโอกาสคู่ชกรุกเข้ามาอย่างไม่รัดกุมหรือเสียจังหวะ ทำให้เราเข้าชิงความได้เปรียบได้ดี


7. ศอกถอง

ศอกถอง /Elbow Nudge

มีทั้งการถองหน้าและถองหลัง ในจังหวะที่คู่ชกอยู่ด้านหลังระหว่างมุมของลำตัวกับแนวไม่สูงระหว่างระดับไหล่ ทิศทางของศอกจะออกจากด้านหน้าเลยผ่านไปยังจุดหมายที่อยู่ด้านหลัง

หรือหากเป็นศอกถองด้านหน้าก็จะนิยมใช้ศอกหน้าในการถองลงไปโดยยกศอกกว้างให้มุมรักแร้กว้างที่สุดแล้วกระตุกลงข้างล่างใช้รักแร้เป็นจุดหมุน


8. ศอกปลาหมอแถกเหงือก

ศอกปลาหมอแถกเหงือก /Around Elbow Strike

เป็นศอกที่อาศัยการกางหรือถ่างออกจากลำตัวให้ศอกทั้งสองข้างกางออกพร้อมกันแล้วใช้ส่วนที่แหลมที่สุดของข้อศอกปะทะเป้าหมายเช่น คาง ใบหน้า ศีรษะ หรือชายโครงใช้ในจังหวะที่คู่ชกบุกเข้ามาโดยไม่ระวังตัว สามารถใช้ตั้งรับได้เป็นอย่างดี หรือใช้โจมตีเมื่อคู่ชกเพลี่ยงพล้ำมากๆ ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมทำกันเพราะถ้าขาดความชำนาญแล้วจะเปิดช่องให้คู่ชกสวนกลับได้ง่าย


9. ศอกคู่

ศอกคู่ / Paring Elbow

คือการใช้ศอกทั้งสองข้างโจมตีคู่ชกพร้อมๆกัน ด้วยลักษณะเดียวกัน เช่น ตีคู่จากบนลงล่าง คู่จากล่างขึ้นบน ตัดคู่หรือเฉียงคู่ก็ได้ ตีคู่เสยขึ้น คือการใช้ทั้งศอกซ้ายขวาเสยขึ้นจากข้างล่างพร้อมๆกันโดยให้กระทบเป้าหมายพร้อมๆกันใช้ในโอกาสที่คู่ชกจะโถมเข้ามาด้วยแขนทั้งสองข้างเพื่อกอดเอวหรือโน้มคอ หรือจังหวะที่เปิดหน้า ให้ยกแขนทั้งสองแนบชิดให้ศอกทั้งสองแนบชิดแน่น

หนาแข็งแรง งัด หรือเสยขึ้นข้างบนพร้อมๆกัน เป้าหมายที่ปลายคาง ปาก แก้ม ตาคิ้ว หน้าผาก ศรีษะ ในปัจจุบันไม่นิยมทำ เพราะต้องอาศัยความชำนาญสูงยากแก่การจับจังหวะที่ถูกต้องของคู่ชกหากไม่ชำนาญจริงๆนอกจากไม่ได้ผลแล้วยังโดนโต้ตอบได้ง่ายด้วย


10. ศอกเฉือน

ศอกเฉือน / Sawing Elbow

คือการใช้ศอกบด ขยี้ และเฉือนลงไปยังบาดแผลที่มีอยู่แล้วให้เปิดกว้างมากขึ้นคล้ายการเลื่อยไม้ ในจังหวะกอดปล้ำระยะประชิดเราจะเฉือนศอกลงไปยังแผลของคู่ชกเพื่อเพิ่มความเจ็บปวดหรือสร้างความพะวงให้กับคู่ชกมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นการเร่งเผด็จศึกให้ยอมแพ้หรือลดความสามารถ

ในการต่อสู่ของคู่ชกให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อเปิดโอกาสให้ออกอาวุธอื่นๆโจมตีได้ในลำดับต่อไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่ความเหมาะสมกับและจังหวะในการใช้ศอกเฉือนนี้ด้วย


11. ศอกเช็ด

ศอกเช็ด /Whipping Elbow

เป็นศอกที่ตีไปยังเป้าหมายแล้วแบมืออกเอาศอกหรือท่อนแขนเช็ดหรือเฉือนคู่ชก เพื่อให้บากแผลเปิดกว้างและบาดเจ็บมากขึ้น มักใช้ในจังหวะกอดปล้ำระยะประชิดเราจะเฉือนศอกลงไปยังแผลของคู่ชก เพื่อเพิ่มความเจ็บปวดหรือสร้างความพะวงให้กับคู่ชกมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นการเร่ง

เผด็จศึกให้ยอมแพ้หรือลดความสามารถในการต่อสู่ของคู่ชกให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อเปิดโอกาสให้ออกอาวุธอื่นๆโจมตีได้ในลำดับต่อไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่ความเหมาะสมกับและจังหวะในการใช้ศอกเช็ดนี้ด้วย


12. ศอกเฉียง

ศอกเฉียง /Diagonal Elbow

เป็นศอกที่มีทิศทางในการตีเฉียงขึ้น หรือ เฉียงลง ใช้ศอกหน้าหรือศอกหลังก็ได้ มีเป้าหมายที่บริเวณศรีษะทั้งหมดเช่น ใบหน้า ขมับ ปลายคาง ไหปลาร้า หรือชายโครง

ลักษณะการออกอาวุธคล้ายศอกตีหรือศอกงัด อาศัยการถ่ายน้ำหนักจากเท้าหลังมาเท้าหน้า ร่วมกับการบิดตัว กระตุกแขนตีศอก เทน้ำหนักมายังศอกที่ตี จะช่วยเพิ่มแรงปะทะไปยังเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น


13. ถอยสุดระยะ

ถอยสุดระยะ (Moving backward)

การถอยให้พ้นระยะ หมายถึงการถอยให้ห่างคู่ต่อสู้ อาจจะกระโดดเลื่อนเท้า ถอยหลัง หรือก้าวถอยหลัง แต่ต้องให้พ้นระยะไม้มวยของคู่ต่อสู้

ดังนั้นการถอยนี้จึงหมายถึงการเคลื่อนที่ออกห่างคู่ต่อสู้ในจังหวะที่คู่ต่อสู้ใช้ไม้มวยจู่โจมมา เมื่อถอยพ้นระยะแล้วจะต้องอยู่ในท่าที่พร้อมจะตอบโต้คู่ต่อสู้ได้ทันที


14. โยกหลบ

โยกหลบ (Swaying)

การโยกตัวหรือเอนตัวให้พ้นระยะ บางท้องที่เรียกว่า “การดึงตัว” หมายถึงการโยกตัวหรือเอนตัวออกให้พ้นระยะไม้มวยของคู่ต่อสู้ไม่ให้มาปะทะตัวเรา โดยไม่ต้องกระโดดถอยหลัง ไม่นิยมออกห่างคู่ต่อสู้จนเกินไป เพราะถ้าอยู่ห่างไปจะทำให้ไม่สามารถตอบโต้คู่ต่อสู้ได้ทัน


15. ปะทะด้วยท่อนแขน

ปะทะด้วยท่อนแขน (attacking with arms)

หมายถึงการใช้แขนปิดป้องอวัยวะที่เป็นจุดอ่อนของร่างกายเพื่อป้องกันศอก ยกแขนกันออกปลายแขนพับเข้าหาใบหูเพื่อปิกป้องบริเวณใบหน้าทั้งหมด เช่นปลายคาง ขากรรไกร เมื่อปิดป้องแล้วจะต้องอยู่ในท่าที่สามารถตอบโต้คู่ต่อสู้ได้ทันที


16. กอดประชิดตัว

กอดประชิดตัว (Clinching)

เป็นการปิดป้องแล้วตอบโต้ หมายถึงการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายที่แข็งแรงปิดป้องเป้าหมายที่คู่ต่อสู้จะจู่โจม ซึ่งส่วนมากมักเป็นบริเวณที่เป็นจุดอ่อนของร่างกาย เช่น ปลายคาง ใบหน้า คอ หน้าอก ลำตัว ลิ้นปี่ เป็นต้น การปิดป้องจะต้องปะทะกับไม้รุกที่คู่ต่อสู้จู่โจมมาอย่างรุนแรง แล้วจึงใช้ไม้มวยตอบโต้ เช่นการเข้ากอดประชิดแล้วตีเข่า