ขั้นที่ 8 กลมวย

ขั้นที่ 8 กลมวย

แม่ไม้มวยไทย

แม่ไม้มวยไทยหรือเรียกสั้นๆว่าแม่ไม้ ใช้การรวมกันของเทคนิคต่างๆสำหรับการตั้งรับและโจมตี การที่จะเชี่ยวชาญในแม่ไม้มวยไทยผู้เรียนจะต้องฝึกฝนการโจมตีและการหลบหลีกจนชำนาญ ชื่อของท่าต่างๆในแม่ไม้มวยไทยนี้ได้ถูกตั้งให้คล้องจองกันเพื่อให้ผู่เรียนสามารถจำง่าย เนื่องจากมวยไทยโดยแท้จริงนั้นใช้เพียงมือเปล่าในการต่อสู้ซึ่งสามารถทำให้เกิดอันตรายได้มาก ดังนั้นเทคนิคจึงสำคัญมากกว่าการใช้แรง กว่า 100 ท่าในมวยไทย เพียง 15 ท่าเท่านั้นที่ถือว่าเป็นสุดยอดแม่ไม้มวยไทย

1.กลสลับฟันปลา

กลมวยนี้เป็นไม้ครูเบื้องต้นของการหลบออกนอกวงเพื่อจะได้ใช้กลมวยไม้อื่นต่อไป
ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าชกด้วยหมัดซ้ายตรงไปที่ใบหน้าฝ่ายรับมือขวาตั้งมั่น ฝ่ายรับ ก้าวเท้าขวามแยงเฉัยงสืบไปข้างหน้าทางวงนอก ทิ้งน้ำหนักตัวบนเท้าขวาใช้แขนปัดหมัดให้เบนพ้นใบหน้า ถ้าฝ่ายรุกชกด้วยหมัดขวาให้ปฏิบัติตรงกันข้าม ให้ฝึกสลับทั้งซ้ายขวาให้ชำนาญ และรวดเร็วจนเป็นสัญชาตญาณเพราะเป็นหลักเบื่องต้นของการใช้ท่าเดินแบบย่องเข้ามากับไม้มวยไทยเพื่อจะได้ฝึกไม้ชึ้นสูงต่อไป

2.กลปักษาแหวกรัง

กลมวยนี้เป็นไม้ครูของการเข้าวงใน เพื่อใช้ไม้ต่างๆต่อไป
ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าชกด้วยหมัดขวาตรงสู่ใบหน้า มือซ้ายตั้งมั่นพร้อมที่จะชกหมัด
ฝ่ายรับ ก้าวเท้าขวาทแยงเฉียง ด้านขวาสืบเท้าเข้าวงในทิ้งน้ำหนักตัวบนเท้าขวา ใช้แทนซ้ายปัดหมัดให้พ้นใบหน้า หมัดขวาตรงชกสวนสู่ใบหน้าฝ่ายรุกทันที
ถ้าฝ่ายรุกชกด้วยหมัดซ้ายให้ปฏิบัติตรงกันข้าม


3.กลชวาซัดหอก

กลมวยนี้ใช้เป็นหลักสำหรับหลงหมัดตรงออกทางวงนอก แล้วโต้ตอบด้วยศอก
ฝายรุก เดินมวยชกด้วยหมัดตรงไปบริเวณหน้าของฝ่ายรับ มือขวาตั้งมั่น
ฝ่ายรับ รับก้าวเท้าขวาเฉียงออกวงนอกทิ้งน้ำหนักตัวลงบนเท้าขวาโดยถลัยเข้าหาตัวฝ่ายรุก แขนซ้ายยกขึ้นปัดหมัดฝ่ายรุกให้เบนออกพ้นตัว แขนขวางอเป็นศอกกระแทกเข้าชายโครงฝ่ายรุก
ถ้าฝ่ายรุกชกด้วยหมัดขวา ให้ปฏิบัติตรงกกันข้าม เวลาซ้อมห้ามฝ่าบรับใช้ศอกกระแทกชายโครงจริงๆ ให้ใช่ท่อนแขนปะทะชายโครงแทน ฝึกจังกวะช้าๆ ก่อนเพราะถ้าทำเร็วจะเป็นอันตรายแก่คู่ซ้อม


4.กลอิเหนาแทงกริช

กลมวยนี้ใช้เป็นหลักในการรับหมัดชกตรง ด้วยการใช่ศอกเข้าคลุกวงใน
ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าชกด้วยหมัดซ้ายตรงไปที่บริเวณหน้าฝ่ายรับ มือขวาตั้งมั่น
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าซ้ายทแยงเข้าวงใน ทิ้งน้ำหนักลงบนเท้าซ้าย ยกแขนขวาขึ้นปัดหมัดให้พ้นตัว มือซ้ายงอศอกขนานกับพื้น เพื่อส่งศอกกระแทกชายโครงของฝ่ายรุก
ถ้าฝ่ายรุกชกด้วยหมัดขวา ให้ปฏิบัติตรงกันข้าม


5.กลยอเขาพระสุเมรุ

กลมวยนี้ใช้รับหมัดตรงในลักษณะก้มตัวเข้าวงในให้หมัดผ่านศรัษะไป แล้วชกปลายคาง
ฝ่ายรุก เดินมวยชกด้วยหมัดด้านซ้ายตรงเข้าบิเวณหน้าฝ่ายรับ มือขวาตั้งมั่น

ฝ่ายรับ รีบก้มศรีษะลงให้หมัดผ่านศีรษะไปพร้อมกับสืบเท้าขวาไปข้างหน้าเล็กน้อย ให้ไดจังหวะแล้วชกหมัดซ้ายเข้าสู่ปลายคางฝ่ายรุกทันที
ถ้าฝ่ายรุกชกด้วยหมัดขวาให้ปฏิบัติตรงกันข้าม

 


6.กลตาเถรค้ำฝัก

กลมวยนี้เป็นหลักเบื้องต้นในการป้องกันหมัดโดยใช้แขนปัดหมัดที่ชกมาขึ้นข้างบน
ฝ่ายรุก เดินใวยเข้าชกด้วยหมัดซ้ายตรงที่หมายบริเวณใบหน้าฝ่ายรับมือขวาตั้งมั่น

ฝ่ายรับ รีบสืบเท้าซ้ายไปข้างหน้าเข้าวงในของฝ่ายรุกทิ้งน้ำหนักตัวลงบนเท้าซ้ายพร้อมกับงอแขนขวายกขึ้นตรงหน้าปัดกระแทกให้หมัดฝ่ายรุกพ้นศรีษะไป มือซ้ายชกหมัดเข้าสู่ปลายคางของฝ่ายรุก
ถ้าฝ่ายรุกชกด้วยหมัดขวาให้ปฏิบัติตรงกันข้าม


7.กลมอญยันหลัก

กลมวยนี้เป็นหลักสำคัญในการรับหมัดด้วยการใช้เท้ายันยอดอก หรือท้อง
ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าชกด้วยหมัดซ้ายตรงสู่บริเวณหน้าฝ่ายรับ มือขวาตั้งมั่น
ฝ่ายรับ รับยกแขนทั้งสองขึ้นป้องกันหน้าพร้อมกับยกเท้าซ้ายขึ้นถีบที่ยอกก หรือท้องของฝ่ายรุก ให้กระเด็นไป
ถ้าฝ่ายรุกชกด้วยหมัดขวาให้ปฏิบัติตรงกันข้าม


8.กลขุนศึกตีทวน

กลมวยนี้ใช้รับหมัดคู่ต่อสู้ทางวงนอก แล้วใช้เท้าเตะเข้าบริเวณกลางตัวตอนหน้าท้อง หรือชายโครง ไม่นี้เป็นไม้ที่รุนแรง
ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าชกด้วยหมัดซ้ายตรงที่หมายบริเวณหน้าฝ่ายรับ มือขวาตั้งมั่น
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าขวาทะแยงออกวงนอกทั้งน้ำหนักตัวบนเท้าขวา หมัดซ้ายของฝ่ายรุกจะเฉียงไหล้ไปพร้อมกับเท้าขวาที่ก้าวถึงพื้น เท้าซ้ายก็เตะที่ชายโครงฝ่ายรุกอย่างรวดเร็ว เป็นจังหวะสวนหรือสกัด
ถ้าฝ่ายรุกชกด้วยหมัดขวาให้ปฏิบัติตรงกันข้าม


9.กดดับชวาลา

กลมวยนี้ใช้แก้หมัดตรง โดยชกาส่วนที่บิเวณใบหน้า
ฝ่ายรับ เดินมวยเข้าชกหมัดซ้ายตรงไปที่ใบหน้าฝ่ายรับ
ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาทะแยงเฉียงออกวงนอกให้ได้ระดับหมัดตรง ทิ้งน้ำหนักตัวบนเท้าขวาใช้แชนชวาปัดแล้วกดแขนซ้านของฝ่ายรุกให้เนบต่ำ รีบชกด้วยหมัดซ้ายตรงที่บริเวณใบหน้า ให้เป็นจังหวะเดียวกับมือขวาที่กดลงนั้นอย่างรวดเร็ว
ถ้าฝ่ายรุกชกด้วยหมัดขวาให้ปฏิบัติตรงกันข้าม


10.กลหนูไต่ราว

กลมวยนี้เป็นแม่ไม้ของการฝึกผ่อนแรงหมัดที่ชกมา เพื่อชะลอแรงหมักแล้วช่องว่างก็เปิดจะเตะ เข่า ชก สวนได้ตามใจชอบ
ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าชกด้วยหมักขวาตรงเข้าสู่ใบหน้าฝ่ายรับ มือซ้ายตั้งมั่น
ฝ่ายรับ ใช้มือขวาตะปบที่ข้อมือ มือซ้ายตะปบที่ข้อศอกพร้อมๆกัน โน้มตัวไปข้างหลัง เพื่อนให้แรงหมัดสลายแล้วจึงโยนเข้าขวา หรือเตะสวนเข้าชายโครงฝ่ายรุกอย่างรวดเร็ว
ถ้าฝ่ายรุกชกด้วยหมัดขวาให้ปฏิบัติตรงกันข้าม


กลมวยแก้เท้า

11.กลปักลูกทอย

กลมวยนี้เป็นไม้สำคัญใช้รับการเตะกราด โดยใช้ศอกกระแทกที่หน้าแข้ง
ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าเตะเหวี่ยงด้วยเท้าขวาหมายศรีษะฝ่ายรับ ตั้งมือทั้งให้มั่น
ฝ่ายรับ รีบสืบเท้าขวาเจ้าหาครึ่งก้ามพร้อมกับหมุนตัวเอาเท้าขวาเป็นแกนหันหน้าเข้าหาทิศทาง

ที่เท้าเตะมา ยอศอกขวาขึ้นตั้งรับระดับหน้าแข้ง มือซ้ายตั้งกราดปิดระดับต้นคอให้มั่น เพื่อป้องกันพลาดถูกใบหน้า
ถ้าฝ่ายรุกเตะด้วยเท้าซ้าย ให้ปฏิบัติตรงกันข้ามให้ใช้ฝ่ามือรับการเตะแทนศอก


12.กลนาคาบิดหาง

กลมวยนี้ใช้เป็นหลักรับกระเตะโดยใช้มือทั้งสองจับปลายเท้าบิดพร้อมทั้งใช้เข่ากระทุ้ง เพื่อให้หักหรือเดาะ
ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าหาพร้อมทั้งเตะเหวี่ยงด้วยเท้าขวาสู่ใบหน้าฝ่ายรับ มือทั้งสองตั้งมั่น
ฝ่ายรับ รีบหลิกตัวหันหน้าไปทางเท้าที่กำลังเตะมา น้้ำหนักตัวทิ้งบนเท้าซ้ายเท้าขวาอยู่ในหลักยืนมวยแบบสิงหยาตร มือขวาตั้งฝ่ามือปะทะปลายเท้า มือซ้ายแบบหงายตะปบส้นเท้า แล้วมือที่จับปลายเท้าพลิกบิดออก มือซ้ายจับส้นเท้าดึงเข้าหาตัวพร้อมกับใช้เข่ากระแทกน่องเพื่อหักเท้า
ท่านี้ต้องฝึกอย่างระมัดระวัง ให้ยกเข่าตีน่องเบาๆ เพราะกระดูกขาจะหัก


13.กลหักงวงไอยรา

กลมวยนี้ใช้แก้การเตะโดยตัดกำลังขาด้วยการใช้ศอกกระทุ้งเข้าที่โคนขา
ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าหาพร้อมกับยกเท้าเตะกราดบิรเวณชายโครง มือทั้งสองตั้งมั่น
ฝ่ายรับ ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาฝ่ายรุกในระยะเกือบชิดตัวอย่างรวดเร็ว หันหน้าเข้าหาทิศทางที่เท้าฝ่ายรุกเตะมา กระทแกศอกขวาเข้าสู่บริเวณโคนขาฝ่ายรุกพร้อมกับแขนซ้ายโอบจับตรงบริเวณน่อง ยกขาให้สูงเพื่อให้เสียหลัก ป้องกันฝ่ายรุกใช้ศอกถองศรีษะ
ถ้าฝ่ายรุกเตะด้วยเท้าขวาให้ปฏิบัติตรงกันข้าม


14.กลวิรุฬหกกลับ

กลมวยนี้ใช้รับการเตะ โดยใช้ส้นเท้ากระแทกที่บริเวณโคนขา
ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าหาพร้อมทั้งยกเท้าซ้ายเตะกราดหมายบริเวณชายโครงมือทั้งสองตั้งมั่น
ฝ่ายรับ รีบพลิกตัวทะแยงหันหน้าสู่ทิศทางที่เท้าเตะมา ใช้เท้าขวาเป็นหลักยืนให้มั่น ยกเท้าซ้านกระแทกด้วยส้นเท้าที่ต้นขาให้สะท้านกลับไปมือทั้งสองตั้งให้มั่น เพื่อป้องกันพลาดถูกชายโครง
ถ้าฝ่ายรุกเตะด้วยเท้าขวา ให้ปฏิบัติตรงกันข้าม
เวลาซ้อม ให้ใช้อุ้งเท้าปะทะแต่พอเบา มิฉะนั้นขาจะเคล็ดหรือหักได้


15.กลไกรสรข้ามห้วย

กลมวยนี้ใช้แก้เท้าที่เตะมาหมายใบหน้าโดยถีบสวนไปที่เท้ายืนเป็นหลักของคู่ต่อสู้
ฝ่ายรุก เดินมวยเตะด้วยเท้าขวาสู่ปลายคางฝ่ายรับ มือทั้งสองตั้งมั่น
ฝ่ายรับ พลิกตัวหันหน้ามาทางที่เท้าเตะมา งอแขนขวาขึ้นรับ พร้อมกับสอดเท้าขวาถีบเข้าที่หน้าตัก (ต้นขา) ของเท้าที่ยืนเป็นหลักของฝ่ายรุกให้หงายหลังล้มไป
ถ้าฝ่ายรุกเตะด้วยเท้าขวาให้ปฏิบัติตรงกันข้าม


16.กลหิรัญม้วนแผ่นดิน

กลมวยนี้เป็นแม่ไม้ของการศอกกลับหลังในลักษระม้วนตัวเข้าไปตามแต่ฝ่ายรุกจะเข่า ชก หรือเตะ ก็ใช้ม้วนตัวเข้าศอกกลับหันหลังได้ทั้งสิ้น
ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าเตะด้วยเท้าขวาหมายซอกคอฝ่ายรับ มือทั้งสองตั้งมั่น
ฝ่ายรับ สืบเท้าขวาประชิดเข้าหาเท่าที่เตะมา พลิกตัวเอาศอกขวาปิดกั้นเท้าที่เตะมาพร้อมกับหมุนตัวกลับกลังกันทางซ้ายฟาดศอกเข้าสู่ใบหน้าฝ่าบรุก
ถ้าฝ่ายรุกเตะด้วยเท้าขวาให้ปฏิบัติตรงกันข้าม


กลมวยแก้เข่า

17.กลพลิกแผ่นดิน

กลมวยนี้ใช้แก้เข่าที่พุ่งมาโดยใช้มือสอดเข้าข้อพับแล้วชกหรือผลักให้หงายไป
ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าหาพร้อมกับพุ่งเข่าขวาสู่เป้าหมายยอดอกของฝ่ายรับมือ
ทั้งสองตั้งมั่น
ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาทแยงสืบเข้าหาทิ้งน้ำหนักตัวบนเท้าขวา มือซ้ายสอดเข้าที่
ข้อพับของฝ่ายรุก พร้อมชกหรือผลักด้วยมือขวาเข้าที่ปลายคางหรือยอดอก
ถ้าฝ่ายรุกเข่าด้วยเข่าซ้ายให้ปฏิบัติตรงกันข้าม


18.กลกังหันต้องลม

กลมวยนี้ใช้แก้เข่าลอยที่พุ่งมาโดยเบี่ยงข้างหลบแล้วยื่นแขนสอดเข้าที่ข้อพับเข่าอีกมือผลักเข้าที่อก ให้หมุนหงายหลังลงหัวฟาดพื้น
ฝ่ายรุก กระโดดพุ่งเข่าลอยด้วยเข่าขวาสู่ปลายคางหรือยอดอก มือทั้งสองตั้งมั่น
ฝ่ายรับ ก้าวเท้าซ้ายออกข้างยื่นมือขวาปัดเข่าให้เบนออกแล้วสอดมือเข้าที่ข้อพับมือซ้าย

ยื่นไปยันที่หน้าอก มือขวายกขึ้นให้คู่ต่อสู้เสียหลัก
ถ้าฝ่ายรุกเข่าลอยด้วยเข่าซ้ายให้ปฏิบัติตรงกันข้าม
ข้อควรระวัง เวลาซ้อมอย่าผลักให้หงายเพียงแต่รับและดันอกไว้เฉยๆเพราะอาจ
เกิดอันตรายได้


19.กลเบนสุเมรุ

กลมวยนี้ใช้รับเข่าโดยถลันเข้าวงในใช้ท่อนแขนปัดให้เข่าเบนเพื่อให้เสียหลักเพื่อ
จะได้ใช้ศอกกระแทกหน้าฝ่ายรุก
ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าโยนเข่าขวาหมายหน้าท้องของฝ่ายรับ มือทั้งสองตั้งมั่น
ฝ่ายรับ ก้าวเท้าขวาทแยงสืบเข้าวงในพร้อมสะบัดแขนซ้ายปัดเข่าให้เบนออก
ห่างตัว แล้วพุ่งศอกขวาเข้าสู่ใบหน้าฝ่ายรุกทันที
ถ้าฝ่ายรุกเข่าด้วยเข่าซ้ายให้ปฏิบัติตรงกันข้าม


กลมวยแก้ศอก

20.กลพระรามน้าวศร

กลมวยนี้ใช้รับศอกที่ขว้างมาจากทิศบน โดยย่อเข่าต่ำลง งอแขนใช้ท่อนแขนยันศอกไว้ แล้วชกสวนด้วยหมัด
ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าประชิดตัว ยกศอกคู่หรือศอกเดี่ยวขึ้นกระแทกลงหมายแสกหน้า หรือกระหม่อยฝ่ายรับ
ฝ่ายรับ งอเข่าก้มหัวลงเล็กน้อยเพื่อชะลอแรงกระแทก ยกแขนขวาขึ้นปกหน้าปะทะใต้ศอกที่กระแทกลงมา พร้อมกับชกสวนออกไปด้วยหมัดซ้าย ถ้าใช้แขนซ้ายรับ ให้ปฏิบัติตรงกันข้าม


21.กลพระรามหักศร

กลมวยนี้ใช้รับศอกเหวี่ยงในระยะประชิดตัว แล้วบิดแขน
ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าหาใช้ศอกซ้ายเหวี่ยงที่หมายใบหน้าฝ่ายรับ มือขวาตั้งมั่น
ฝ่ายรับ สืบเท้าซ้ายเฉียงเข้าประชิดตัว มือขวาตะปปจับศอก มือซ้ายตะปปที่ข้อมือพร้อมกัน จังหวะนี้ป้องกันให้พ้นจากการถูกศอก แล้วใช้มือซ้ายกดลง มือขวาที่จับศอกกระแทกขึ้น เพื่อบิดช่วงไหล่ของคู่ต่อสู้
ถ้าฝ่ายรุกศอกด้วยศอกขวาให้ปฏิบัติตรงกันข้าม


22.กลพระรามฟาดศร

กลมวยนี้ใช้แก้ศแกเสยขึ้นโดยใช้สันมือสับเข้าที่ข้อพับ
ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าชิดตัว งอศอกขวาเสยขึ้นหมายปลายคาง มือซ้ายตั้งให้มั่น
ฝ่ายรับ สืบเท้าขวาออกข้างหน้า ให้ได้ระดับฟันฝ่ามือลง สับฝ่ามือลงไปที่ข้อพับฝ่ายรุก
ถ้าฝ่ายรุกศอกด้วยศอกซ้ายให้ปฏิบัติตรงกันข้าม


23.กลพระรามยันศร

กลมวยนี้ใช้ป้องกันศอกเหวี่ยงโดยใช้มือยันไว้ที่ไหล่เมื่อแรงศอกสลายแล้วจะใช้
ศอกกระแทกตอบหรือจับเหวี่ยงแล้วกระแทกขึ้นด้วยเข่าตามโอกาส
ฝ่ายรุก เดินมวยเข้าตีด้วยศอกขวา มือซ้ายตั้งมั่น
ฝ่ายรับ ก้าวเท้าขวาเข้าประชิดตัวทางขวา สอดมือขวาเข้ายันที่ไหล่เพื่อให้แรง
ศอกชะงัก แล้วอัดด้วยศอกซ้ายเข้าที่หน้าหรือจะกระแทกเข่าขวาขึ้นที่ชายโครง
ถ้าฝ่ายรุกศอกด้วยศอกซ้ายให้ปฏิบัติตรงกันข้าม