ขั้นที่ 9 ท่าร่ายรำ

1.ท่าเทพพนม

เป็นท่าเริ่มต้นของการร่ายรำไหว้ครู เพื่อตั้งจิตให้เป็นสมาธิมีความแน่วแน่ นั่งคุกเข่าตัวตรง ปลายเท้าขวาทับเท้าซ้าย ก้นทับบนส้นเท้าทั้งสองข้าง มือพนมเสมออก ก้มกราบสามครั้งเป็นการรำลึกถึงคุณครูบาอาจารย์ บิดามารดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้คุ้มครองตนอย่าได้เพลี่ยงพล้ำแก่คู่ชก จากนั้นโน้มตัวเหยียดแขนทั้งสองข้างไปข้างหน้าจนปลายนิ้วจรดพื้นหัวแม่มือทั้งสองไม่แยกจากกันแล้วเลื่อนมือทั้งสองกลับเข้ามาเหมือนกอบแม่พระธรณีขึ้นมาที่อก

กลับมาเป็นท่าเทพพนมเหมือนเดิม แล้วเลื่อนมือทั้งสองกลับเข้ามาเหมือนกอบแม่พระธรณีขึ้นมาที่อกกลับมาเป็นท่าเทพพนมเหมือนเดิม แล้วเข้าสู่ท่าถวายบังคมเหยียดแขนออกจนสุด ยกขึ้นไหว้จดที่หน้าผากเป็นท่าถวายบังคม งอศอกเงยหน้าขึ้นลักษณะหงายไปทางด้านหลังให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้วนิ้วชี้ตรงขึ้นไป เอนตัวไปข้างหลังพองามแล้วลดมือลงพนมเสมอหน้าอกทำซ้ำอีกสองครั้ง


2.ท่าก้มกราบ ถวายบังคม

เป็นท่าเริ่มต้นของการร่ายรำไหว้ครู เพื่อตั้งจิตให้เป็นสมาธิมีความแน่วแน่ นั่งคุกเข่าตัวตรง ปลายเท้าขวาทับเท้าซ้าย ก้นทับบนส้นเท้าทั้งสองข้าง มือพนมเสมออก ก้มกราบสามครั้งเป็นการรำลึกถึงคุณครูบาอาจารย์ บิดามารดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้คุ้มครองตนอย่าได้เพลี่ยงพล้ำแก่คู่ชก จากนั้นโน้มตัวเหยียดแขนทั้งสองข้างไปข้างหน้าจนปลายนิ้วจรดพื้นหัวแม่มือทั้งสองไม่แยกจากกันแล้วเลื่อนมือทั้งสองกลับเข้ามาเหมือนกอบแม่พระธรณีขึ้นมาที่อกกลับมาเป็นท่าเทพพนมเหมือนเดิม แล้วเลื่อนมือทั้งสองกลับเข้ามาเหมือนกอบแม่พระธรณีขึ้นมาที่อกกลับมาเป็นท่าเทพพนมเหมือนเดิม แล้วเข้าสู่ท่าถวายบังคมเหยียดแขนออกจนสุด ยกขึ้นไหว้จดที่หน้าผากเป็นท่าถวายบังคม งอศอกเงยหน้าขึ้นลักษณะหงายไปทางด้านหลังให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้วนิ้วชี้ตรงขึ้นไป เอนตัวไปข้างหลังพองามแล้วลดมือลงพนมเสมอหน้าอกทำซ้ำอีกสองครั้ง

ท่าถวายบังคมเป็นท่าเริ่มต้นของการร่ายรำไหว้ครู เพื่อตั้งจิตให้เป็นสมาธิมีความแน่วแน่ นั่งคุกเข่าตัวตรง ปลายเท้าขวาทับเท้าซ้าย ก้นทับบนส้นเท้าทั้งสองข้าง มือพนมเสมออก ก้มกราบสามครั้งเป็นการรำลึกถึงคุณครูบาอาจารย์ บิดามารดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้คุ้มครองตนอย่าได้เพลี่ยงพล้ำแก่คู่ชก จากนั้นโน้มตัวเหยียดแขนทั้งสองข้างไปข้างหน้าจนปลายนิ้วจรดพื้นหัวแม่มือทั้งสองไม่แยกจากกันแล้วเลื่อนมือทั้งสองกลับเข้ามาเหมือนกอบแม่พระธรณีขึ้นมาที่อกกลับมาเป็นท่าเทพพนมเหมือนเดิม แล้วเลื่อนมือทั้งสองกลับเข้ามาเหมือนกอบแม่พระธรณีขึ้นมาที่อกกลับมาเป็นท่าเทพพนมเหมือนเดิม แล้วเข้าสู่ท่าถวายบังคมเหยียดแขนออกจนสุด ยกขึ้นไหว้จดที่หน้าผากเป็นท่าถวายบังคม งอศอกเงยหน้าขึ้นลักษณะหงายไปทางด้านหลังให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้วนิ้วชี้ตรงขึ้นไป เอนตัวไปข้างหลังพองามแล้วลดมือลงพนมเสมอหน้าอกทำซ้ำอีกสองครั้ง


3.ท่าปฐม

เป็นท่าต่อเนื่องจากท่าถวายบังคม ให้ยกตัวขึ้นเก้าเท้าขวาออกไปข้างหน้า 1 ก้าว เข่าขวางอตั้งฉากกับพื้น โน้มตัวไปข้างหน้า ตามองตรง ขาซ้ายเหยียดตรงไปด้านหลังงอหลังเท้าเชิดขึ้น แขนขวาอยู่บนเท้าขวา แขนซ้ายกุมเสมออก กำหมัดทั้งสองข้าง จากนั้นเข้าสู่ท่าพรหม หมัดทั้งสองประสานกันระดับหน้าอกมองตรง แล้วโน้มตัวไปข้างหน้าควงหมัดสามรอบเสร็จแล้วถอยตัวกลับไปนั่งบนเท้าส้นซ้าย เท้าขวาเหยียดเปิดปลายเท้าควงหมัดสามรอบทำสามครั้ง

ลุกขึ้นย่างสามขุมกลับเข้ามุมของเรา จากนั้นหันมาทางมุมคู่ชกยกมือไหว้หนึ่งครั้งเป็นการสิ้นสุดท่ารำไหว้ครูแต่หากเราต้องการร่ายรำต่อก็สามารถใช้ไม้รำเพิ่มเติมต่างๆมาต่อท่าทั้งแบบนั่งหรือแบบยืนก็ได้ โดยเมื่อสิ้นสุดการร่ายรำเพิ่มเติมแล้วจึงทำการย่างสามขุมกลับเข้ามุมแล้วหันมาทิศทางมุมคู่ชกไหว้หนึ่งครั้งเป็นการเสร็จสิ้นการไหว้ครู


4.ท่าพรหม

เป็นท่าต่อเนื่องจากท่าถวายบังคม ให้ยกตัวขึ้นเก้าเท้าขวาออกไปข้างหน้า 1 ก้าว เข่าขวางอตั้งฉากกับพื้น โน้มตัวไปข้างหน้า ตามองตรง ขาซ้ายเหยียดตรงไปด้านหลังงอหลังเท้าเชิดขึ้น แขนขวาอยู่บนเท้าขวา แขนซ้ายกุมเสมออก กำหมัดทั้งสองข้าง จากนั้นเข้าสู่ท่าพรหม หมัดทั้งสองประสานกันระดับหน้าอกมองตรง แล้วโน้มตัวไปข้างหน้าควงหมัดสามรอบเสร็จแล้วถอยตัวกลับไปนั่งบนเท้าส้นซ้าย

เท้าขวาเหยียดเปิดปลายเท้าควงหมัดสามรอบทำสามครั้ง ลุกขึ้นย่างสามขุมกลับเข้ามุมของเรา จากนั้นหันมาทางมุมคู่ชกยกมือไหว้หนึ่งครั้งเป็นการสิ้นสุดท่ารำไหว้ครูแต่หากเราต้องการร่ายรำต่อก็สามารถใช้ไม้รำเพิ่มเติมต่างๆมาต่อท่าทั้งแบบนั่งหรือแบบยืนก็ได้ โดยเมื่อสิ้นสุดการร่ายรำเพิ่มเติมแล้วจึงทำการย่างสามขุมกลับเข้ามุมแล้วหันมาทิศทางมุมคู่ชกไหว้หนึ่งครั้งเป็นการเสร็จสิ้นการไหว้ครู

 


5.ท่าเทพนิมิตร

เป็นท่าเริ่มต้นของการร่ายรำท่ายืน 

หลังจากการไหว้ครูท่านั่งสิ้นสุดลงที่ท่าพรหมหากต้องการร่ายรำไหว้ครูด้วยท่ายืน ให้เราลุกขึ้นยืนตรงพนมมือเสมออกมือที่พนมตั้งฉากกับพื้นตั้งจิตมั่นเรียกท่าเทพนิมิตร แล้วจึงร่ายรำต่อด้วยท่าไหว้ครูแบบยืนเป็นลำดับถัดไป

6.การร่ายรำท่าคุมเชิงครู

เป็นท่าร่ายรำเพื่อให้นักมวยระลึกถึงการป้องกันตัวเสมอ ครูมวยโบราณได้กล่าวถึงการก้าวย่างที่รัดกุมไว้อย่างคล้องจองว่า ย่างสามขุม คุมเชิงครู ดูดัสกร ฟ้อนรำเชิงหลังจากการร่ายรำไหว้ครูท่านั่งแล้วลุกขึ้นยืนเป็นท่าเทพนิมิตร เริ่มการร่ายรำด้วยท่าย่างสามขุม เคลื่อนที่ไปรอบๆแล้วอาจจะเปลี่ยนเป็นท่าคุมเชิงครู เพื่อระลึกถึงการป้องกันตัวอยู่เสมอ หมัดทั้งสองกำและยกตั้งให้สูงย่างสามขุมเปลี่ยนทิศทาง สายตามองไปยังคู่ชกการร่ายรำท่า ดูดัสกร คือระหว่างการร่ายรำตาต้องจ้องมองอยู่ที่คู่ต่อสู้ตลอดเวลาที่ขึ้นชก

ย่างสามขุมเปลี่ยนทิศทาง เมื่อก้าวเท้าลง ใช้มือป้องหน้าผากส่ายศรีษะซ้ายขวาแต่สายตายังคงมองไปยังคู่ชกการร่ายรำท่าฟ้อนรำเชิง คือ การชกมวยไทยต้องมีการหยั่งเชิง หลอกล่อให้คู่ต่อสู้หลงทาง เมื่อมีจังหวะจึงเข้าทำ เป็นการสลับยกเท้าเบี่ยงซ้ายขวาไปมา โหย่งตัวอย่างมีเชิงหลังจากการร่ายรำเสร็จทำการย่างสามขุมกลับเข้ามุม หันมาทางมุมคู่ชกยกมือไหว้หนึ่งครั้งเป็นการจบการร่ายรำ


7.การร่ายรำย่างสามขุม

เป็นท่าร่ายรำเพื่อให้นักมวยระลึกถึงการป้องกันตัวเสมอ ครูมวยโบราณได้กล่าวถึงการก้าวย่างที่รัดกุมไว้อย่างคล้องจองว่า ย่างสามขุม คุมเชิงครู ดูดัสกร ฟ้อนรำเชิงหลังจากการร่ายรำไหว้ครูท่านั่งแล้วลุกขึ้นยืนเป็นท่าเทพนิมิตร เริ่มการร่ายรำด้วยท่าย่างสามขุม เคลื่อนที่ไปรอบๆแล้วอาจจะเปลี่ยนเป็นท่าคุมเชิงครู เพื่อระลึกถึงการป้องกันตัวอยู่เสมอ หมัดทั้งสองกำและยกตั้งให้สูงย่างสามขุมเปลี่ยนทิศทาง สายตามองไปยังคู่ชก

การร่ายรำท่า ดูดัสกร คือระหว่างการร่ายรำตาต้องจ้องมองอยู่ที่คู่ต่อสู้ตลอดเวลาที่ขึ้นชก ย่างสามขุมเปลี่ยนทิศทาง เมื่อก้าวเท้าลง ใช้มือป้องหน้าผากส่ายศรีษะซ้ายขวาแต่สายตายังคงมองไปยังคู่ชกการร่ายรำท่าฟ้อนรำเชิง คือ การชกมวยไทยต้องมีการหยั่งเชิง หลอกล่อให้คู่ต่อสู้หลงทาง เมื่อมีจังหวะจึงเข้าทำ เป็นการสลับยกเท้าเบี่ยงซ้ายขวาไปมา โหย่งตัวอย่างมีเชิงหลังจากการร่ายรำเสร็จทำการย่างสามขุมกลับเข้ามุม หันมาทางมุมคู่ชกยกมือไหว้หนึ่งครั้งเป็นการจบการร่ายรำ


8.การร่ายรำท่าส่องเมฆ

หรือหนุมานส่องเมฆมีความหมายเป็นการดูฤกษ์ยามก่อนออกรบ หลังจากเริ่มต้นด้วยการไหว้ครูตามลำดับจากท่าเทพพนมจนถึงท่าพรหมให้ใช้มือทั้งสองข้างม้วนกลับหลัง ให้อีกมือมาหยุดอยู่ระหว่างคิ้ว อีกมืออยู่เหนือเข่า ทำท่าเงยหน้าส่องขึ้น แล้วทำท่าเบิกเมฆเพื่อให้ฟ้ากระจ่างเหมาะสมแก่การต่อสู้แล้วจึงลุกขึ้น ย่างสามขุมกลับเข้ามุม หันหน้ามาทางมุมคู่ชกไหว้ทำความเคารพหนึ่งครั้งเป็นการจบการร่ายรำ


9.การร่ายรำท่าสอดสร้อยมาลา

ก่อนการร่ายรำท่าสอดสร้อยมาลา ให้เริ่มต้นการไหว้ครูตั้งแต่ท่านั่งเทพพนมตามลำดับจนถึงท่าพรหม
จังหวะที่ 1 หมุนตัวไปทิศเบื้องขวาไหว้พระพรหมทิศเบื้องขวา 1 ครั้ง
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า 1 ก้าว ยกขาขวาไปทางด้านหลังท่อนแขนขวางอขนานกับพื้นยกสูงระดับปลายคาง แขนซ้ายงอตั้งฉากกับพื้นปลายหมัดตั้งขึ้น
จังหวะที่ 3 สอดหมัดซ้ายขึ้นด้านในแขนขวา ให้เลยขึ้นไปข้างบนจนศอกซ้ายเหนือแขนขวาที่วางขนานระดับปลายคาง

จังหวะที่ 4 เปลี่ยนจากแขนขวาวางขนานกับพื้นมาเป็นแขนซ้าย รำสอดแขนเช่นเดียวกัน
จังหวะที่ 5 เปลี่ยนจากการยืนด้วยเท้าซ้าย มาเป็นยืนทรงตัวด้วยเท้าขวา แล้วปฏิบติเช่นเดียวกับจังหวะที่ 2-4
จังหวะที่ 6 ให้เปลี่ยนทิศไปร่ายรำในทิศต่างๆ ให้ครบสี่ทิศ แล้วกลับเข้ามุมด้วยการก้าวย่าง และโค้งคำนับให้คู่ต่อสู้ เป็นการจบกระบวนท่า


10.การร่ายรำท่าสาวน้อยประแป้ง

เป็นการไหว้ครูท่านั่งที่อ่อนช้อยสวยงาม เริ่มด้วยท่าเทพพนมจนถึงท่าปฐมจากนั้นทรงตัวบนหัวเข่าข้างใดข้างหนึ่ง ควงหมัดถอยหลังสามครั้ง มีขั้นตอนดังนี้
การกอบแป้ง ใช้แขนกวาดจากหลังมาหน้าสมมติเป็นการกอบแป้งขึ้นใส่มือ ลูบใบหน้าแก้มซ้าย แก้มขวา มืออีกข้างทำท่าขุนแผนส่องกระจกยกขึ้นตั้งแขนอย่างสง่างาม เงยหน้ามองไปยังฝ่ามือหันซ้ายขวา ส่ายศรีษะไม่พอใจแล้วทำท่ากอบแป้งขึ้นประอีกครั้งจนถึงครั้งที่สามทำท่าพยักหน้าพอใจ
จบท่าร่ายรำด้วยการลุกขึ้นยืน ย่างสามขุมกลับเข้ามุม หันหน้ามาทางมุมคู่ชกไหว้ทำความเคารพหนึ่งครั้งเป็นการจบการร่ายรำ


11.การร่ายรำท่าเสือลากหาง

การร่ายรำท่าเสือลากหางเป็นท่าไหว้ครูอีกท่าหนึ่ง เริ่มตั้งแต่ท่าเทพพนม ก้มกราบ ถวายบังคม ปฐม และท่าพรหม หลังจากนั้นนักมวยจะเคลื่อนตัวเข้าหาคู่ต่อสู้มือทั้งสองอยู่ในท่าคุม กระเถิบตัวไปข้างหน้าในลักษณะลากเข่าเพื่อหลอกล่อให้คู่ต่อสู้เตะ
จังหวะที่ 1 ขณะนั่งอยู่ในท่าพรหม คือเท้าซ้ายตั้งฉากกับพื้น เท้าขวาเหยียดตรงไปด้านหลัง ปลายนิ้วเท้าจรดพื้นโน้มตัวไปด้านหน้าให้มากมือทั้งสองควงหมัดแล้วงอแขนตั้งฉากชูปลายมือขึ้นขยับแขนขึ้นลงสลับซ้ายขวาตลอดเวลา

แล้วเคลื่อนแขนกางออกด้างข้างขยับขึ้นลงไม่มากใบหน้าส่ายไปมาพร้อมกับขยับตัวขึ้นลงให้สัมพันธ์กัน โดยน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้ายและปลายเท้าขวายันพื้นช่วยในการทรงตัวและการขยับตัวตามจังหวะดนตรี
จังหวะที่ 2 ถอยตัวกลับไปนั่งบนส้นเท้าซ้าย เท้าขวาเหยียดอยู่ด้านหน้า มือทั้งสอง
ควงหมัดและขยับขึ้นลงเช่นเดียวกับจังหวะที่ 1อาจจะเปลี่ยนสลับเท้าขวาเป็นซ้ายก็ได้ย่างสามขุมกลับเข้ามุม หันหน้ามาทางมุมคู่ชกไหว้ทำความเคารพหนึ่งครั้งเป็นการจบการร่ายรำ


12.การร่ายรำท่าดูดัสกร

การร่ายรำท่า ดูดัสกร คือระหว่างการร่ายรำตาต้องจ้องมองอยู่ที่คู่ต่อสู้ตลอดเวลาที่ขึ้นชก ย่างสามขุมเปลี่ยนทิศทาง เมื่อก้าวเท้าลง ใช้มือป้องหน้าผากส่ายศรีษะซ้ายขวาแต่สายตายังคงมองไปยังคู่ชก


13.การร่ายรำท่าฟ้อนรำเชิง

ท่าฟ้อนรำเชิง คือ การชกมวยไทยต้องมีการหยั่งเชิง หลอกล่อให้คู่ต่อสู้หลงทาง เมื่อมีจังหวะจึงเข้าทำ เป็นการสลับยกเท้าเบี่ยงซ้ายขวาไปมา โหย่งตัวอย่างมีเชิงหลังจากการร่ายรำเสร็จทำการย่างสามขุมกลับเข้ามุม หันมาทางมุมคู่ชกยกมือไหว้หนึ่งครั้งเป็นการจบการร่ายรำ


14.การร่ายรำท่าย่างสุขเกษม

การร่ายรำท่าย่างสุขเกษมหรือการร่ายรำท่าขุนพลกรายทวน หรือกรายทวนรอบทิศ เป็นการร่ายรำท่ายืนเพื่อให้เราฝึกกวาดตาดูรอบทิศทาง ดูความแข็งอ่อนของพื้น ด้วยการใช้เท้าแตะพื้นสองครั้งแล้วเปลี่ยนทิศจนครบ หมุนรอบตัวพอดี เป็นท่าร่ายรำไหว้ครูที่สวยงามอีกหนึ่งท่า เริ่มจากท่าไหว้ครูเทพพนมจนถึงท่ายืนเทพนิมิตรแล้วเหยียดเท้าแตะพื้นสองครั้งกวาดเท้าออกด้านข้างแตะพื้นอีกสองครั้งวนไปเรื่อยๆจนหมุนวนกลับมาที่เดิม  ส่วนใหญ่เราจะมีจังหวะที่กวาดเท้าหมุนครบรอบกลับมาที่เดิมประมาณแปดครั้งพอดี เมื่อครบแล้วย่างสามขุมกลับเข้ามุมหันหน้ามาทางมุมคู่ชกยกมือไหว้หนึ่งครั้งเป็นการจบท่าร่ายรำ


15.การร่ายรำท่าหงส์เหิร

หลังจากการไหว้ครูในท่านั่งตามลำดับจนถึงการลุกขึ้นยืนในท่าเทพนิมิตแล้ว หมุนตัวไปทางขวา
จังหวะที่ 1 ยกเท้าขวาเหยียดไปด้านหลังโดยยืนทรงตัวด้วยเท้าซ้าย โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ร่ายรำโดยกางแขนทั้งสองออกด้านข้างสุดแขน ย่อเข่าลงพร้อมกับคว่ำฝ่ามือทั้งสองลง
จังหวะที่ 2 ยืดเข่าให้ตรงพร้อมกับงอข้อมือขึ้นให้ปลายนิ้วมือทั้งสองเชิดขึ้น

จังหวะที่ 3 ลดเท้าขวาลงยืนกับพื้น แล้วเปลี่ยนเป็นเหยียดเท้าซ้ายไปข้างหลังร่ายรำเช่นเดียวกัน ลักษณะคล้ายนกกำลังบินการเคลื่อนตัว แขน และฝ่ามือให้สัมพันธ์กันและเข้ากับจังหวะดนตรี
จังหวะที่ 4 ลดเท้าซ้ายลงยืนตรงย่างสามขุมกลับเข้ามุมของเราจากนั้นหันหน้ามาทางมุมฝ่ายตรงข้ามยกมือไหว้ไปทางมุมคู่ชก เป็นการจบการไหว้ครูและร่ายรำท่าหงส์เหิร


16.การร่ายรำท่ายูงรำแพน

ก่อนการร่ายรำท่ายูงรำแพนให้เริ่มต้นการไหว้ครูตั้งแต่ท่านั่งเทพพนมตามลำดับเช่นเดียวกับท่าอื่นๆ จนลุกขึ้นยืนท่าเทพนิมิตร
จังหวะที่ 1 หมุนตัวไปทิศเบื้องขวาไหว้พระพรหม 1 ครั้ง
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า 1 ก้าว ยกขาขวาเหยียดไปทางด้านหลัง พร้อมกับโน้มตัวลงมาทางด้านหน้า มือทั้งสองพนมอยู่ระดับอก
จังหวะที่ 3 บิดฝ่ามือหันหลังมือเข้าหากันแล้วค่อยๆ เคลื่อนแขนทั้งสองสอดผ่านใต้รักแร้ไปทางด้านหลัง จนแขนเหยียดตรง หน้าเงยมองตรงไปด้านหน้า

จังหวะที่ 4 เคลื่อนมือทั้งสองออกไปด้านข้างลักษณะกางแขนแล้วโค้งเข้าหากันด้านหน้าควงแขน 3 รอบ
จังหวะที่ 5 เคลื่อนขาขวามาตั้งฉากด้านหน้าหมุนเฉียงขวา ท้าขวาลงพื้นห่าง 1 ก้าว
จังหวะที่ 6 ยกเท้าซ้ายเหยียดไปทางด้านหลัง ยืนทรงตัวด้วยเท้าขวา
จังหวะที่ 7 ลดเท้าซ้ายลงยืนตรงย่างสามขุมกลับเข้ามุมของเราจากหันมาทางมุมฝ่ายตรงข้ามนั้นยกมือไหว้ไปทางมุมคู่ชก เป็นการจบการไหว้ครูและร่ายรำท่ายูงรำแพน


17.การร่ายรำท่าพระรามแผลงศร

เป็นการร่ายรำที่สวยงามท่าหนึ่งที่เป็นท่ายืน ก่อนการร่ายรำท่าพระรามแผลงศร ให้เริ่มต้นการไหว้ครูตั้งแต่ท่านั่งเทพพนมตามลำดับจนถึงท่าเทพนิมิตร ท่าพระรามแผลงศรมักจะนิยมร่ายรำเพียงทิศเดียว คือหันหน้าไปทางทิศของคู่ต่อสู้
จังหวะที่ 1 หมุนตัวไปทิศเบื้องขวาไหว้พระพรหมทิศเบื้องขวา 1 ครั้ง
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า 1 ก้าว พร้อมกับชูแขนทั้งสองข้างในลักษณะคล้ายจับคันศรด้วยมือซ้าย
จังหวะที่ 3 มือขวาเอื้อมมาด้านหลังทำท่าลักษณะหยิบลูกศรบิเวณต้นคอ มาพาดคันศรแล้วน้าวสายศรมาด้านหลัง 2-3 ครั้ง ทำท่าน้าวศรครั้งที่ 1 ไม่ปล่อยศร ค่อยๆเลื่อนมือขวาตามแรงดึงของคันศร

 น้าวศรครั้งที่ 2 ก็ไม่ปล่อยศร พอน้าวศรครั้งที่ 3 ทำลักษณะยกคันศรสูงระดับหูตัวยืนนิ่งสายตามองเล็งไปที่เป้าหมาย แล้วปล่อยศรโดยบิดมือขวาขึ้น
จังหวะที่ 4 เมื่อปล่อยลูกศรออกไปแล้วเท้าขวาลงพื้น แล้วยกขาซ้ายงอขึ้นด้านหน้าพร้อมกับทำท่ายกมือป้องเหนือหน้าผาก ตามองตามลูกศรไปคล้ายกับดูว่าลูกศรจะถูกที่มายหรือไม่ หากไม่ถูกให้ส่ายหน้า ถ้าถูกให้ผงกศีรษะ สีหน้าแสดงความยินดี
จังหวะที่ 5 ให้เสกคาถา เช่น นะจังงัง 3 จบ และใช้เท้ากระทืบพื้น 3 ครั้ง
จังหวะที่ 6 ย่างสามขุมเข้ามุมของตนแล้วโค้งคำนับให้คู่ต่อสู้ 1 ครั้ง เป็นการจบกระบวนท่า


18.การร่ายรำท่านารายน์ขว้างจักร

เป็นการร่ายรำที่สวยงามท่าหนึ่งที่เป็นท่ายืน ก่อนการร่ายรำท่านารายน์ขว้างจักรให้เริ่มต้นการไหว้ครูตั้งแต่ท่านั่งเทพพนมตามลำดับจนถึงท่าเทพนิมิตร หันหน้าไปทางทิศของคู่ต่อสู้
จังหวะที่ 1 หมุนตัวไปทิศเบื้องขวาไหว้พระพรหมทิศเบื้องขวา 1 ครั้ง
จังหวะที่ 2 ยกเท้าซ้ายขึ้น ทรงตัวด้วยเท้าขวาตั้งแขนซ้ายสง่างาม
จังหวะที่ 3 มือขวาเอื้อมมาด้านหลังทำท่าลักษณะชูนิ้วเหวี่ยงกงจักรที่อยู่ระหว่างนิ้ว แกว่งแขนจากช้าไปเร็วแล้วทำท่าฟาดกงจักรออกจากนิ้ว

จังหวะที่ 4 เมื่อปล่อยกงจักรออกไปแล้ว วางเท้าซ้าย
พร้อมกับทำท่ายกมือป้องเหนือหน้าผาก ตามองตามกงจักรไปคล้ายกับดูว่าถูกที่หมายหรือไม่ ในที่นี้กงจักรที่ขว้างไปหมายถึงขว้างไปยังทศกัณฑ์ ถ้าถูกให้ผงกศีรษะ สีหน้าแสดงความยินดี
จังหวะที่ 5 ย่างสามขุมเข้ามุมของตนแล้วโค้งคำนับหรือไหว้คู่ต่อสู้ 1 ครั้ง เป็นการจบกระบวนท่า